วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ส่งงานวิจัย

งานวิจัยเรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้าสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ความเป็นมา
ครูอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาก คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น สามารถอธิบายบทเรียนซ้ำ ๆ กันได้ หลายครั้ง และควรจัดให้มีหน่วยงานทางการศึกษา เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากการพิจารณาลักษณะของเนื้อหาเรื่อง เครื่องวัด และการวัดทางไฟฟ้า ที่สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
2. เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น โดยใช้ เกณฑ์มาตรฐาน 80/80
3. เพื่อหาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยที่สร้างขึ้น
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ที่เลือกเรียนวิชาเลือกเสรี กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ วิชาช่างอุตสาหกรรม และวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาไฟฟ้า ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 312 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียน สวรรค์อนันต์วิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ที่เลือกเรียนวิชาเลือกเสรี กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ วิชาช่างอุตสาหกรรม และวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาไฟฟ้า ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 20 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธี การสุ่มแบบเจาะจง
นิยามศัพท์
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ในการวิจัย เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เครื่องวัดและการวัดไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. นักเรียน หมายถึง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 20 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
3. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง คุณภาพของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้จากคะแนนแบบฝึกหัดในบทเรียนและคะแนนสอบหลังการเรียนของนักเรียน ที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
4. ความก้าวหน้าทางการเรียน หมายถึง ค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบคะแนนการสอบ ก่อนเรียนและการสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. ความคิดเห็น หมายถึง ความรู้สึก ความพอใจ ความต้องการต่าง ๆ ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ในการวิจัย เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน
3. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์
4. แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับผู้เชี่ยวชาญ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การวิเคราะห์การประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าตัวกลางเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. การวิเคราะห์การประเมินความเห็นสอดคล้องเกี่ยวกับบทเรียนแต่ละกรอบภาพ ของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ จากค่าระดับความเห็นสอดคล้อง
3. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ จากการหาประสิทธิภาพ ของกระบวนการจากคะแนนการทำแบบฝึกหัดในบทเรียน และการหาค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์จากคะแนนทดสอบหลังการเรียน
4. การวิเคราะห์หาค่าความก้าวหน้าทางการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ ได้จากการ เปรียบเทียบคะแนนการสอบก่อนเรียน และการสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยนำคะแนนผลการสอบของนักเรียนหลังใช้บทเรียน กับก่อนใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาหาความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ย ใช้การทดสอบค่า (t - test Dependent Sample)
สรุปผลวิจัย
1. ได้ผลงานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.00/80.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้เท่ากับ 80/80
3. ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์มีค่าสูงขึ้น และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความพอใจกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และต้องการให้มี การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาอื่น ๆ อีก

ไม่มีความคิดเห็น: