วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

เคเบิลใต้น้ำ (Submarine cables)

เคเบิลใต้น้ำ (Submarine cables)
เป็นสื่ออีกอย่างหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในระบบสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณทุกชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาเป็นลำดับๆมา จากยุคของเคเบิลใต้น้ำที่ใช้เคเบิลแบบแกนร่วม ( Coaxial cable) เรื่อยมาจนถึงเคเบิลแบบใยแก้วนำแสง (Optical fiber cable) เคเบิลใต้น้ำใยแก้วนำแสงมีการวางใช้งานแพร่หลายในแทบทุกส่วนของโลก เนื่องจากสามารถพัฒนาให้ทันสมัย และเหมาะสมกับสภาวการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว
นำแสงแบบดิจิทัลเส้นแรกเป็นของโครงการ TAT-8 ซึ่งเปิดให้บริการในปี 2531 ระหว่างสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา โดยเป็นเคเบิลใต้น้ำชนิดใหม่ที่มีเส้นใยแก้วนำแสงบรรจุอยู่ถึง 3 คู่ ตามติดมาด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสงทรานส-แปซิฟิกเส้นแรกของโครงการ TPC-3 ในปี 2532 และ HAW-4 ซึ่งให้บริการระหว่าง ญี่ปุ่น กวม และสหรัฐอเมริกาเมื่อเปรียบเทียบกับเคเบิลแบบสายคู่ตีเกลียว (twisted-pair) และแบบโคแอ๊คเชียล (coaxial) แล้ว เคเบิลแบบใยแก้วนำแสงมีขนาดบางกว่ามาก ทว่าสามารถรองรับจำนวนช่องสัญญาณได้มากกว่า นอกจากนี้เคเบิลใยแก้วนำแสงยังปราศจากปัญหาในเรื่องของเทอร์มอล น๊อยส์ (thermal noise) และ ครอสทอล์ค (crosstalk) และยังไม่มีการรั่วไหลของการแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งใช้สัญญาณแสงซึ่งไม่สามารถดักฟังหรือแท๊พได้อีกด้วยปัจจุบันเคเบิลโทรศัพท์ใต้น้ำสามารถวางได้รวดเร็วกว่าในอดีต อันเป็นผลจากความก้าวหน้าอย่างมากของเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง ทำให้มีการวางระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วนำแสงเป็นจำนวนมากในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกนานกว่า 10 ปีมาแล้ว เกินจำนวนของระบบแอนะล็อกที่ได้เคยวางไว้แล้วกว่า 40 ปี และมีปริมาณทราฟฟิกโทรศัพท์ระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัวจากความก้าวหน้าของเคเบิลใยแก้วนำแสง ซึ่งปรากฏว่าในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่งเป็นของภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกการขยายตัวและความพยายามเปลี่ยนโครงข่ายในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกให้เป็นระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ควบคู่กับความต้องการในการวางเคเบิลใต้น้ำที่ค่อนข้างสูงในภูมิภาคนี้ซึ่งมี แหลม หมู่เกาะ และเกาะใหญ่น้อย เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสูง ทำให้ตลาดมีการขยายตัว อย่างรวดเร็ว
ข้อดีของเคเบิลใต้น้ำใยแก้วนำแสงระบบเคเบิลใต้น้ำ
มีความได้เปรียบทางเทคโนโลยีหลายประการที่เหนือกว่าระบบอื่นๆ1. หากเป็นระบบดาวเทียม ที่มีระยะทางในการสื่อสัญญาณไป-กลับมากกว่า 72,000 กิโลเมตรแล้ว การสื่อสารด้วยระบบดาวเทียมจะมีการหน่วงเวลา (propagation delay) ราว 0.5 วินาที นอกจากนี้สภาพภูมิอากาศยังมีผลต่อประสิทธิภาพและการทำงานด้วย เช่น ฝน สามารถทำให้เกิดการลดทอนสัญญาณได้ด้วย แต่ถ้าเป็นระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วนำแสงแล้ว จะมีการหน่วงเวลาค่อนข้างน้อย และไม่อ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายแต่อย่างใดสำหรับระบบดาวเทียมนั้นมีข้อดีคือ ส่งข้อมูลข่าวสารได้เป็นจำนวนมากไปยังที่ต่างๆบนพื้นโลก การรับสัญญาณทำได้ง่าย แต่ก็ขาดความปลอดภัยหากไม่มีการเข้ารหัสป้องกัน2. ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหลายประการ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงได้มาก ถึงแม้ว่าระบบดาวเทียมมีวิธีการสื่อสารได้กับหลายๆจุด (multipoint)ซึ่งค่อนข้างประหยัดก็ตาม แต่ระบบเคเบิลก็ยังได้เปรียบทั้งในด้านค่าใช้จ่ายระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point) และยังสามารถรับ-ส่งสัญญาณได้เป็นจำนวนมากอีกด้วยนอกจากนี้ในเรื่องของเทคโนโลยี Branching ซึ่งเป็นจุดเด่นพิเศษของระบบเคเบิลแบบใยแก้วนำแสงที่ไม่มีในระบบเคเบิลแบบแกนร่วม ทำให้เคเบิลใต้น้ำสามารถใช้คู่สายร่วมกันได้ และแยกออกเป็นเส้นทางสื่อ-สัญญาณ (transmission path) ต่างๆได้โดยใช้ Branching unit3. จากการใช้ DS-3 ทำให้ช่วยร่นเวลาในการนำ unactivated capacity ในระบบเคเบิลใต้น้ำมาใช้ เป็นผลให้สามารถพัฒนาบริการในระบบดิจิทัลใหม่ๆได้ เช่น การสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง และการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง (video-audio conference) ซึ่งต้องการระบบที่มีความจุช่องสัญญาณ (capacity) มากๆและการสื่อสารที่มีคุณภาพสูง
ลักษณะของเคเบิลใต้น้ำระบบเคเบิลใต้น้ำ
เป็นระบบที่ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรคมนาคม ผ่านทางสายเคเบิลที่วางทอดตัวอยู่ใต้ทะเลหรือมหาสมุทรเป็นระยะทางไกล เชื่อมโยงระหว่างสถานีเคเบิลใต้น้ำ 2 สถานีซึ่งอาจจะเป็นระหว่างจุดต่อจุดหรือประเทศต่อประเทศ และจากการที่สายเคเบิลมีระยะทางที่ค่อนข้างไกลมากนี้เอง จำเป็นต้องมีการชดเชยการสูญเสียกำลังของสัญญาณไปตามความยาวของสายเคเบิลโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (repeater) ช่วยขยายช่องสัญญาณเป็นช่วงๆ ทำให้คุณภาพสัญญาณไม่เปลี่ยนแปลงแม้ภูมิอากาศแปรปรวน รวมทั้งมีความล่าช้าของสัญญาณ (time delay)น้อยมาก เคเบิลใต้น้ำโดยทั่วไปออกแบบให้มีอายุใช้งานอย่างน้อย 25 ปีขึ้นไปอุปกรณ์ทวนสัญญาณนี้จะใส่เป็นระยะๆตลอดความยาวของเคเบิลใต้น้ำ ถ้าเป็นระบบเคเบิลใต้น้ำแบบแกนร่วม แต่ละตัวห่างกันประมาณ 15 กิโลเมตร(เนื่องจากมีอัตราการสูญเสียของระดับสัญญาณสูง) ส่วนระบบเคเบิลใต้น้ำแบบใยแก้วนำแสงนั้น แต่ละตัวห่างกันประมาณ 100 กิโลเมตร(หรืออาจมากกว่านั้น)ระบบเคเบิลใต้น้ำ เป็นระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารโทรคมนาคมในระบบโครงข่ายติดต่อระหว่างประเทศในการวางเคเบิลใต้น้ำที่ผ่านมาในอดีตจะเป็นเคเบิลแบบแกนร่วม ซึ่งมีความจุหรือความสามารถในการให้บริการด้านสื่อสารโทรคมนาคมไม่เพียงพอในปัจจุบันและอนาคต จึงมีการพัฒนาเป็นเคเบิลแบบใยแก้วนำแสง และนำมาใช้เป็นเคเบิลใต้น้ำที่มีประสิทธิภาพรองรับบริการได้มากขึ้นหลายเท่าตัว ด้วยคุณสมบัติของเคเบิลใยแก้วนำแสง ทำให้สามารถสื่อสารในรูปแบบดิจิทัล รับส่งสัญญาณได้ด้วยแถบความถี่ที่กว้างกว่า รับส่งข้อมูลข่าวสารด้วยอัตราที่เร็วกว่า และที่สำคัญคือรองรับการสื่อสารโทรคมนาคมใหม่ๆได้ทุกรูปแบบ
การพัฒนาระบบเคเบิลใต้น้ำ
ในยุคแรก ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสงขนาดความยาวคลื่น (wavelength) 1.4 um ที่มีอัตราความเร็ว 295.6 Mbit/s (ตาม CEPT-4 139.264 Mbit/s) อัตรารับส่งสัญญาณ 280 Mbit/s ทำให้ได้ช่องสัญญาณ 3,780 ช่อง ( 64 Kbit/s ต่อช่องสัญญาณ)ระบบในยุคที่ 2 ใช้ขนาดความยาวคลื่น 1.55 um ด้วยอัตราความเร็ว 560 Mbit/s ทำให้ได้วงจรเสียงพูด (voice channel) เพิ่มขึ้นถึง 40,000 วงจรต่อคู่ นั่นก็หมายความว่า ต้องการใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณหรือรีพีทเตอร์ จำนวนน้อย เคเบิลใต้น้ำแต่ละเส้นจะมีเคเบิลใยแก้วนำแสงใช้งานเพียง 2 คู่ โดยอีกคู่ใช้เป็นคู่สายสำรอง ซึ่งสามารถรองรับทราฟฟิกเท่ากับวงจรโทรทัศน์ถึงกว่า 30,000 วงจรระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วนำแสงนั้น โดยทั่วไปมักออกแบบให้มีอายุใช้งานราว 25 ปี ทั้งนี้ต้องมีการทดสอบความไว้วางใจได้เพิ่มเติม ด้วยอุปกรณ์รีพีทเตอร์ เช่นเดียวกับการใช้เทคนิคของ redundancy ด้วยนอกเหนือจากการใช้เรือออกสำรวจ ซ่อมแซมราว 2-3 ครั้งตลอดอายุใช้งานของมันระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วนำแสงยุคที่ 3 มีการนำ ออพติคัล ไฟเบอร์ แอมพลิฟายร์ (optical fibre amplifiers) หรือออพแอมป์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ในระบบดังกล่าว สัญญาณจะถูก repeat โดยตรงโดยไม่มีการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าในรีพีทเตอร์แต่อย่างใด จึงทำให้การสร้างรีพีทเตอร์ทำได้ง่ายโดยใช้เพียงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ความเร็วต่ำและไม่มีปัญหาในเรื่อง bit rate จากการมอดูเลท นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้กับเอสดีเอช (SDH - Synchronous Digital Hierarchy) และเพิ่มความเร็วได้สูงถึง 5 Gbit/s ทำให้รองรับวงจรเสียงได้ถึง 300,000 วงจรต่อเคเบิลใยแก้วนำแสงหนึ่งคู่นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยความร่วมมือกันระหว่าง KDD (ญี่ปุ่น) กับ AT&T (สหรัฐอเมริกา) ในการพัฒนาระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วนำแสงที่สามารถส่งสัญญาณได้ที่ความเร็ว 100 Gbit/s หรือ 10 เท่าของความเร็วของระบบที่ทั้งสองบริษัทกำลังสร้างอยู่ในปัจจุบัน โดยคาดว่าจะใช้ระบบที่มีความเร็วถึง 100 Gbit/s นั้นได้ในราว พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ซึ่งจะรองรับการสื่อสารโทรศัพท์ได้ถึง 1.2 ล้านช่อง นอกเหนือจากการส่งสัญญาณโทรทัศน์อีก 2,000 ช่อง

เครือข่ายความเร็วสูง SDH (Synchronous Digital Hierarchy)

เครือข่ายความเร็วสูง SDH (Synchronous Digital Hierarchy)
SDH เป็นคำศัพท์ที่กำลังได้รับการกล่าวถึงอย่างมากทางหน้าหนังสือพิมพ์ หลายคนคงอยากรู้ถึงเทคโนโลยีเครือข่าย SDH ว่ามีลักษณะอย่างไร มีความเป็นมาหรือแนวโน้มที่น่าสนใจอะไรบ้าง
SDH (Synchronous Digital Hierarchy) เป็นเทคโนโลยีมาตรฐาน สำหรับการส่งผ่านข้อมูลแบบ synchronous บนตัวกลางใยแก้ว และเทียบได้มาตรฐานสากลของ Synchronous Optical Network แต่เทคโนโลยีทั้งสองให้ความเร็วมากกว่า และถูกกว่าเครือข่ายติดต่อภายใน เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ PDH (Plesiochronous Digital Hierarchy)
SDH ย่อมาจาก Synchronous Digital Heirarchy SDH เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายถึงการวางลำดับการสื่อสารแบบซิงโครนัสในตัวกลางความเร็วสูง ซึ่งโดยปกติใช้สายใยแก้วเป็นตัวนำสัญญาณ การสื่อสารภายในเป็นแบบซิงโครนัส คือส่งเป็นเฟรม และมีการซิงค์บอกตำแหน่ง เริ่มต้นเฟรมเพื่อให้อุปกรณ์รับตรวจสอบสัญญาณข้อมูลได้ถูกต้อง มีการรวมเฟรมเป็นช่องสัญญาณที่แถบกว้างความเร็วสูงขึ้น และจัดรวมกันเป็นลำดับ เพื่อใช้ช่องสื่อสารบนเส้นใยแก้วนำแสง
ความเป็นมาของ SDH มีมายาวนานแล้ว เริ่มจากการจัดการโครงข่ายสายโทรศัพท์ ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์ได้เปลี่ยนเป็นดิจิตอล โดยช่องสัญญาณเสียงหนึ่งช่องใช้สัญญาณแถบกว้าง 64 กิโลบิต แต่ในอดีตการจัดมาตรฐานลำดับชั้นของเครือข่ายสัญญาณเสียงยังแตกต่างกัน เช่นในสหรัฐอเมริกา มีการจัดกลุ่มสัญญาณเสียง 24 ช่อง เป็น 1.54 เมกะบิต หรือที่เรารู้จักกันในนาม T1 และระดับต่อไปเป็น 63.1, 447.3 เมกะบิต แต่ทางกลุ่มยุโรปใช้ 64 กิโลบิตต่อหนึ่งสัญญาณเสียง และจัดกลุ่มต่อไปเป็น 32 ช่องเสียงคือ 2.048 เมกะบิต ที่รู้จักกันในนาม E1 และจัดกลุ่มใหญ่ขึ้นเป็น 8.44, 34.36 เมกะบิต
การวางมาตรฐานใหม่สำหรับเครือข่ายความเร็วสูงจะต้องรองรับการใช้งานต่าง ๆ ทั้งเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณมัลติมีเดียอื่น ๆ เช่น สัญญาณโทรทัศน์ ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกได้ คณะกรรมการจัดการมาตรฐาน SDH จึงรวมแนวทางต่าง ๆ ในลักษณะให้ยอมรับกันได้ โดยที่สหรัฐอเมริกา เรียกว่า SONET ดังนั้นจึงอาจรวมเรียกว่า SDH/SONET การเน้น SDH/SONET ให้เป็นกลางที่ทำให้เครือข่ายประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ วิ่งลงตัวได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
เนื่องจากโครงข่ายของ SDH/SONET ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเป็นหลัก โดยวางแถบกว้าง พื้นฐานระดับต่ำสุดไว้ที่ 51.84 เมกะบิต โดยที่ภายในแถบกว้างนี้จะเป็นเฟรมข้อมูลที่สามารถนำช่องสัญญาณเสียงโทรศัพท์ หรือการประยุกต์อื่นใดเข้าไปรวมได้ และยังรวมระดับช่องสัญญาณต่ำสุด 51.84 เมกะบิตนี้ให้สูงขึ้น เช่นถ้าเพิ่มเป็นสามเท่าของ 51.84 ก็จะได้ 155.52 ซึ่งเป็นแถบกว้างของเครือข่าย ATM
โมเดลของ SDH แบ่งออกเป็นสี่ชั้น เพื่อให้มีการออกแบบและประยุกต์เชื่อมต่อได้ตาม มาตรฐานหลัก
ชั้นแรก เรียกว่าโฟโตนิก เป็นชั้นทางฟิสิคัลที่เกี่ยวกับการเชื่อมเส้นใยแก้วนำแสง และอุปกรณ์ประกอบทางด้านแสง
ชั้นที่สอง เป็นชั้นของการแปลงสัญญาณแสง เป็นสัญญาณไฟฟ้า หรือในทางกลับกัน เมื่อแปลงแล้วจะส่งสัญญาณไฟฟ้าเชื่อมกับอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ชั้นนี้ยังรวมถึงการจัดรูปแบบเฟรมข้อมูล ซึ่งเป็นเฟรมมาตรฐาน แต่ละเฟรมมีลักษณะชัดเจนที่ให้อุปกรณ์ตัวรับและตัวส่งสามารถซิงโครไนซ์เวลากันได้ เราจึงเรียกระบบนี้ว่า ซิงโครนัส
ชั้นที่สาม เป็นชั้นที่ว่าด้วยการรวมและการแยกสัญญาณ ซึ่งได้แก่วิธีการมัลติเพล็กซ์ และดีมัลติเพล็กซ์ เพราะข้อมูลที่เป็นเฟรมนั้นจะนำเข้ามารวมกัน หรือต้องแยกออกจากกัน การกระทำต้องมีระบบซิงโครไนซ์ระหว่างกันด้วย
ชั้นที่สี่ เป็นชั้นเชื่อมโยงขนส่งข้อมูลระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังปลายทางอีกด้านหนึ่ง เพื่อทำให้เกิดวงจรการสื่อสารที่สมบูรณ์ ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งจึงเสมือนเชื่อมโยงถึงกันในระดับนี้
เพื่อให้การรับส่งระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังอีกปลายทางด้านหนึ่งมีลักษณะสื่อสารไปกลับได้สมบูรณ์ การรับส่งจึงมีการกำหนดแอดเดรสของเฟรมเพื่อให้การรับส่งเป็นไปอย่างถูกต้อง กำหนดโมดูลการรับส่งแบบซิงโครนัส ที่เรียกว่า STM - Synchronous Transmission Module โดย เฟรมของ STM พื้นฐาน มีขนาด 2430 ไบต์ โดยส่วนกำหนดหัวเฟรม 81 ไบต์ ขนาดแถบกว้างของการรับส่งตามรูปแบบ STM จึงเริ่มจาก 155.52 เมกะบิตต่อวินาที ไปเป็น 622.08 และ 2488.32 เมกะบิตต่อวินาที
จะเห็นว่า STM ระดับแรกมีความเร็ว 155.52 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเป็น 3 เท่าของแถบกว้างพื้นฐานของ SDH ที่ 51.84 เมกะบิตต่อวินาที STM จึงเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใน SDH ด้วย ในการส่งผ่านแบบดิจิตอล "synchronous" หมายถึง บิตจากการเรียก 1 ครั้งได้รับการนำภายใน 1 frame ของการส่ง Plesiochronous หมายถึง "เกือบจะ synchronous" หรือ การเรียก 1 ครั้งต้องดึงจาก frame การส่งมากกว่า 1 frame SDH ใช้ตาม Synchronous Transport Modules (STM) และอัตรา คือ STM-1 (155 megabits ต่อวินาที), STM-4 (622 Mbps), STM-16 (2.5 gigabits ต่อวินาที), และ STM-64 (10 Gbps) เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ผู้ออกแบบมาตรฐาน SDH ต้องการให้เป็นทางด่วนข้อมูลข่าวสาร ที่จะรองรับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีอัตราการส่งสัญญาณกันเป็น T1, T3, หรือ E1, E3 ขณะเดียวกันก็รองรับเครือข่าย ATM (Asynchronous Transfer Mode) ที่ใช้ความเร็วตามมาตรฐาน STM ดังที่กล่าวแล้ว โดยที่ SDH สามารถเป็นเส้นทางให้กับเครือข่าย ATM ได้หลาย ๆ ช่องของ ATM
ในขณะเดียวกันSDH จึงเสมือนถนนของข้อมูลที่ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเพื่อรองรับแถบกว้างของสัญญาณสูง ขณะเดียวกันก็ใช้งานโดยการรวมสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาร่วมใช้ทางวิ่งเดียวกันได้SDH จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เสมือนหนึ่งเป็นถนนเชื่อมโยงที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ที่สำคัญคือ ถนนเหล่านี้จะเป็นทางด่วนที่รองรับการประยุกต์ใช้งานในอนาคต SDH หรือทางด่วนข้อมูล จะเกิดได้หรือไม่ คงต้องคอยดูกันต่อไป
SDH เป็นเทคโนโลยีในการ Multiplex สัญญาณรูปแบบใหม่(ไม่ค่อยใหม่แล้ว)ที่เพิ่มความคล่องตัวในการ multiplex/demultiplex สัญญาณให้ทำได้ง่ายขึ้น ต่างจากระบบเดิมคือ PDH ซึ่งต้องทำการ multiplex เป็น step หลายๆขั้นตอนจากความเร็วต่ำไปสู่ความเร็วสูง กล่าวคือ ถ้าต้องการ multiplex สัญญาณ 2 Mbps ไปเป็นสัญญาณ 140 Mbps ก็ต้อง multiplex จาก 2->8->34->140 สามขั้นตอน หรือในทางกลับกัน ถ้าเราได้รับสัญญาณ 140 Mbps มาและต้องการถอดเอาสัญญาณ 2 Mbps ออกมา เราจะถอดตรงๆไม่ได้ต้อง demultiplex 3 ขั้นตอนเช่นกันในระบบ SDH ปัญหาลักษระนี้จะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากเราสามารถ multiplex สัญญาณ 2 Mbps ไปเป็น 155 Mbps ได้โดยตรง ในทางกลับกันเมื่อเราได้รับสัญญาณ 155 Mbps มาก็สามารถถอดเอาสัญญาณ 2 Mbps ออกมาได้ทันทีเช่นกัน
ทำให้การทำงานง่ายขึ้น นอกจากนี้ SDH ยังรองรับสัญญาณได้หลายระดับพร้อมกัน กล่าวคือเราสามารถ multiplex สัญญาณ 1.5,2,6,8,34,45,140 ไปเป็น 155 Mbps ได้โดยตรง นอกจากนี้ SDH ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับการสื่อสารทางแสงทำให้สามารถส่งสัญญาณที่ความเร็วสูงมากๆเช่น STM-1 (155Mbps), STM-4(622Mbps), STM-16, STM-64 เป็นต้น ไปบนสาย fiber optic คู่เดียว เป็นการสะดวกและลดต้นทุนในส่วนของสาย fiber optic ด้วย

เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic)

เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) คืออะไร
เส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมากเส้นใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเส้นใยแก้วนำแสง ที่ทำมาจากพลาสติกเพื่องานบางอย่างที่ไม่คำนึงถึงการสูญเสียสัญญาณมากนัก เช่น การสื่อสารในระยะทางสั้น ๆ ไม่กี่เมตรFiber Optic Cable หลักการทั่วไปของการสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติกคือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล) ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน จากนั้นจึงส่งออกไปเป็นพัลส์ของแสงผ่านสายไฟเบอร์ออปติกสายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือพลาสติกสามารถส่งลำแสง ผ่านสายได้ทีละหลาย ๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้นจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง จากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณอนาล็อกหรือดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อน จากนั้นจะส่งสัญญาณมอดูเลตผ่านตัวไดโอดซึ่งมี 2 ชนิดคือ LED ไดโอด (light Emitting Diode) และเลเซอร์ไดโอด หรือ ILD ไดโอด (Injection Leser Diode) ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสงในย่านที่มองเห็นได้ หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟราเรดซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ ความถี่ย่านอินฟราเรดที่ใช้จะอยู่ในช่วง 1014-1015 เฮิรตซ์ ลำแสงจะถูกส่งออกไปตามสายไฟเบอร์ออปติก เมื่อถึงปลายทางก็จะมีตัวโฟโต้ไดโอด (Photo Diode) ที่ทำหน้าที่รับลำแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลตตามเดิม จากนั้นก็จะส่งสัญญาณผ่านเข้าอุปกรณ์ดีมอดูเลต เพื่อทำการดีมอดูเลตสัญญาณมอดูเลตให้เหลือแต่สัญญาณข้อมูลที่ต้องการ สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีแบนด์วิดท์ (BW) ได้กว้างถึง 3 จิกะเฮิรตซ์ และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 1 จิกะบิตต่อวินาที ภายในระยะทาง 100 กม. โดยไม่ต้องการเครื่องทบทวนสัญญาณเลย สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีช่องทางสื่อสารได้มากถึง 20,000-60,000 ช่องทาง สำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ ไม่เกิน 10 กม. จะสามารถมีช่องทางได้มากถึง 100,000 ช่องทางทีเดียว ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก คือประมาณ 1 ใน 10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000 ครั้ง เท่านั้น ทั้งยังป้องกันการรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้โดยสิ้นเชิง

ข้อจำกัด
1. ราคา ทั้งสายไฟเบอร์ออปติกและอุปกรณ์ประกอบการทั้งหลายมีราคาสูงกว่าการส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลธรรมดามาก
2. อุปกรณ์พิเศษสำหรับการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง และจากคลื่นแสงกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า และเครื่องทวนสัญญาณ อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งมีความซับซ้อน และราคาแพงมาก
3. เทคนิคในการติดตั้งระบบ เนื่องจากสายไฟเบอร์ออปติกมีความแข็งแต่เปราะจึงยากต่อการเดินสายไฟตามที่ต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งการเชื่อมต่อระหว่างสายก็ทำได้ยากมาก เพราะต้องระวังไม่ได้เกิดการหักเห
ในปัจุบันมีการใช้งาน Internet กันอย่างกว้างขวางจากการใช้งานที่จำกัดอยู่ในที่ทำงานได้ขยายความต้องการใช้งานในที่บ้านมากขึ้น มีการติดตั้งวงจรเพื่อใช้งานจากที่บ้านมากขึ้น นอกจากนี้ในอนาคตรูปแบบการใช้งานยังขยายเข้าสู่ Multimedia มากขึ้น เช่น IP-TV,Telepresence,Video on demand,IP Phone. ในอดีตการใช้งานเมื่อต้องการเชื่อมต่อจะใช้ผ่าน Modem และคู่สายทองแดงของระบบโทรศัพท์ ที่ได้ความเร็วเพียง 56Kbps ต่อมามีการพัฒนาทางเทคโนโลยีนำไปสู่การใช้งานที่เร็วยิ่งขึ้นได้แก่ digital subscriber line (DSL) เช่น ADSL และ cable modem Optics to the home (FTTH) คือเทคโนโลยีที่นำข้อมูล ข่าวสารต่างๆขนาดมหาศาลมาถึงบ้านผู้ใช้บริการ ด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีขนาดเล็กและเบาแต่สามารถส่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วด้วยคุณภาพที่สูง แนวคิดด้าน Fiber Optics to the home (FTTH) มีการกล่าวถึงกันมานานแล้ว มีหลายบริษัทที่มีความพยายามนำแนวคิดนี้นำมาให้บริการแก่กลุ่มลูกค้ารายเล็กๆโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าตามบ้านพักอาศัยที่เป็นโฮมยูสเซอร์ทั่วไปโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ที่มีการวางระบบเครือข่าย Fiber Optic เพื่อให้บริการในรูปแบบ FTTH เช่นบริษัท BellSouth มีการวางสายFiber เข้าไปที่เขต Dunwoody ใน Atlanta ประมาณ 400 หลัง.Futureway บริษัทที่ให้บริการด้านโทรคมนาคมของแคนนาดาเริ่มมีการสร้างระบบเชื่อมต่อ Fiber เข้าสู่ตามที่พักอาศัยแล้วในเมือง Toronto
ในด้านผู้ผลิตอุปกรณ์(Supplier)ในด้านนี้อย่าง Optical Solution มีอัตราการเติบโตที่ดีมียอดขายอุปกรณ์ด้าน Fiber เพิ่มมากขึ้น สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเสมือนแนวโน้มและทิศทางที่ดีของการใช้งานด้าน Fiber Optics to the home แต่เมื่อมองดูความต้องการการใช้งานในตลาดจากผู้บริโภคปรากฏว่ามีการขยายตัวน้อยมาก

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรียนวันที่9สิงหาคม2551

Routing Protocol
คือโปรโตคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย
Link-state Routing Protocol
ลักษณะกลไกการทำงานแบบ Link-state routing protocol คือตัว Router จะ Broadcast ข้อมูลการเชื่อมต่อของเครือข่ายตนเองไปให้ Router อื่นๆทราบ ข้อมูลนี้เรียกว่า Link-state ซึ่งเกิดจากการคำนวณ Router ที่จะคำนวณค่าในการเชื่อมต่อโดยพิจารณา Router ของตนเองเป็นหลักในการสร้าง routing table ขึ้นมา ดังนั้นข้อมูล Link-state ที่ส่งออกไปในเครือข่ายของแต่ละ Router จะเป็นข้อมูลที่บอกว่า Router นั้นๆมีการเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายใดอย่างไร และเส้นทางการส่งที่ดีที่สุดของตนเองเป็นอย่างไร โดยไม่สนใจ Router อื่น และกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในเครือข่าย เช่น มีบางวงจรเชื่อมโยงล่มไปที่จะมีการส่งข้อมูลเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปให้ ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากตัวอย่างโปรโตคอลที่ใช้กลไกแบบ Link-state ได้แก่ โปรโตคอล OSPF (Open Shortest Path First) สำหรับ Interior routing protocol นี้บางแห่งก็เรียกว่า Intradomain routing protocol
Distance-vector Routing Protocol
ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก
OSPF (Open Shortest Path First)
เป็นโปรโตคอล router ใช้ภายในเครือระบบอัตโนมัติที่นิยมใช้ Routing Information Protocol แลโปรโตคอล router ที่เก่ากว่าที่มีการติดตั้งในระบบเครือข่าย OSPF ได้รับการออแบบโดย Internet Engineering Task Force (IETF) เหมือนกับ RIP ในฐานะของ interior gateway protocolการใช้ OSPF จะทำให้ host ที่ให้การเปลี่ยนไปยังตาราง routing หรือปกป้องการเปลี่ยนในเครือข่ายทันที multicast สารสนเทศไปยัง host ในเครือข่าย เพื่อทำให้มีสารสนเทศในตาราง routing เดียวกัน แต่ต่างจาก RIP เมื่อตาราง routing มีการส่ง host ใช้ OSPF ส่งเฉพาะส่วนที่มีการเปลี่ยน ในขณะที่ RIP ตาราง routing มีการส่ง host ใกล้เคียงทุก 30 วินาที OSPE จะ multicast สารสนเทศที่ปรับปรุงเฉพาะ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นOSPF ไม่ใช้การนับจำนวนของ hop แต่ใช้เส้นทางตามรายละเอียด “line state” ที่เป็นส่วนสำคัญเพิ่มขึ้น ในสารสนเทศของเครือข่าย OSPF ให้ผู้ใช้กำหนด cost metric เพื่อให้ host ของ router กำหนดเส้นทางที่พอใจ OSPF สนับสนุน subnet mask ของเครือข่าย ทำให้เครือข่ายสามารถแบ่งย่อยลงไป RIP สนับสนุนภายใน OSPF สำหรับ router-to-end ของสถานีการสื่อสาร เนื่องจากเครือข่ายจำนวนมากใช้ RIP ผู้ผลิต router มีแนวโน้มสนับสนุน RIP ส่วนการออกแบบหลักคือ OSPF

สอบเก็บคะแนนครั้งที่2

1. Router มีกี่ชนิด อะไรบ้างRouting มีอยู่ 2 แบบ หลักๆ ได้แก่
- แบบสเตติก (Static Route)
- แบบไดนามิก (Dynamic Route)
2. จงบอกคำสั่งที่อยู่ในโหมดแต่ละโหมด โหมดละ 5 คำUser Exec ModeUser Exec Mode เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วยเครื่องหมาย เช่น Routerhostname >คำสั่งaccess-enable เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราวclear เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราวconnect ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminaldisable ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged modedisconnect ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ networkenable เข้าสู่ privileged Exec mode
Privileged Exec Mode
เป็นโหมดที่ทำให้ท่านสามารถเปลี่ยนแปลง ค่า Configuration ในตัว Router เมื่อใดที่ท่านเข้าสู่โหมดนี้ไปแล้ว ท่านจะสามารถเข้าสู่การทำงานของโหมดอื่น เพื่อการเปลี่ยนค่า Configuration รวมทั้งขอบข่ายการทำงานของ Router ได้โดยง่ายวิธีการเข้าสู่ Privileged Exec Mode ได้แก่การใช้คำสั่ง enable ขณะที่ท่านยังอยู่ใน User Exec Modeแต่ส่วนใหญ่เมื่อท่านกำลังจะเข้าสู่ Privileged Exec Mode ท่านมักจะได้รับการร้องขอให้ใส่รหัสผ่าน หากท่านสามารถใส่รหัสผ่านได้ถูกต้อง ท่านจะได้เห็น Prompt ใหม่เกิดขึ้น นั่นแสดงว่า ท่านสามารถเข้าสู่โหมดนี้ได้แล้ว ท่านจะได้เห็นชื่อของ Router รวมทั้งเครื่องหมายของ Prompt ที่เป็นรูป # เช่น myrouter#Privileged Mode จะทำให้ท่านสามารถ Access เข้าไปที่โหมดต่างๆ ของ Router ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชุดของระบบปฏิบัติการที่ท่านใช้อยู่ ต่อไปนี้เป็นคำสั่งที่ท่านจะได้พบ หรือสามารถนำมาใช้งานได้บน Privileged Mode นี้
คำสั่งEnable ใช้เพื่อเปิดการเข้าสู่ privileged mode
Erase ใช้เพื่อการลบข้อมูลใน Flash หรือหน่วยความจำที่เก็บ Configuration ใน Router
Exit ใช้เพื่อออกจาก EXEC mode
Help คำสั่ง help
Login ใช้เพื่อการ log on เข้าสู่ระบบ
Logout ใช้เพื่อการออกจาก
EXEC
Mrinfo ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารจาก Multicast Router
Mstat แสดงสถิติหลังจากที่ได้ติดตามดูเส้นทางของ Router ต่างๆ
Mtrace ใช้เพื่อติดตามดู เส้นทางแบบย้อนกลับ จากปลายทางมายังต้นทาง
Name-connection ใช้เพื่อการตั้งชื่อ ให้กับเครือข่ายที่กำลังเชื่อมต่ออยู่
Global Configuration Modeเป็นโหมดที่เริ่มต้นในการ config พื้นฐานของอุปกรณ์ เช่น การเปลี่ยนชื่อ ( hostname ) เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการ config ก่อนที่จะเป็นขั้นตอนการ config ใน modu ย่อย ๆ ต่อไปคาสั่ง
Alias ใช้เพื่อสร้าง Command Alias (ใช้เพื่อสร้างคำสั่งใหม่จากคำสั่งเดิมที่มีอยู่)apollo คำสั่ง Apollo Global configuration Commandappletalk คำสั่ง Global Configuration สำหรับ เครื่อง Appletalk arap Appletalk Remote Access Protocolarp เป็นการตั้งค่า arp ในตาราง arpasync-bootp ใช้เพื่อ modify Parameter การทำงานของ Bootp
Other Configuration Mode
เป็นโหมดที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นในการ config อุปกรณ์จะมีการลงรายละเอียดของอุปกรณ์มากขึ้น เช่น การ config แต่ละ interface ของ Router

3. Command prompt ในโหมดต่างๆเข้า dos หรือ command promptใช้คำสั่ง cd เพื่อเปลี่ยนไปยัง ไดเร็กทอรีที่ต้องการแล้วใช้คำสั่งDIR /B /O:N > filelist.txt
คำสั่งภายใน Router Cisco มีค่าสั่งที่ท่างานในโหมดต่างๆ หลายโหมดดังต่อไปนี้ Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่
1. User Exec Mode
2. Privileged Exec Mode
3.Global Configuration Mode
4.Other Configuration Mode
5. Boot Mode

4. user exec mode พร้อมรายละเอียด
User Exec Mode : เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วยเครื่องหมาย > เช่น Routerhostname >คำสั่งต่างๆภายใน User Exec Modeaccess-enable : เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear : เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connect : ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
disable : ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
disconnect : ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network
enable : เข้าสู่ privileged Exec mode
exit : ออกจากการใช้ User Exec mode
help : ใช้เพื่อแสดงรายการ help
lat : เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)
lock : ใช้เพื่อ lock terminal
login : loginเข้ามาเป็น user
logout : exit ออกจาก EXEC
mrinfo : ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง
mstat : แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว
mtrace : ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
name-connection : เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
pad : เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD
Ping : ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ
ppp : ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPP
resume : ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้ง
rlogin : เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล
show : แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบัน
slip : เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)
systat : เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ
telnet : เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet
terminal : เป็นการจัด Parameter ของ Terminal Line
traceroute : เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง
tunnel : เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel
where : แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน

5. คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบสถานะของ Router จงบอกอย่างน้อย 5 คำสั่งคำสั่งเพื่อตรวจสอบสถานะของ Routerคำสั่ง show versions ข้อมูลข่าวสารจาก show version มีความส่าคัญมาก หากได้มีการ Upgrade Software บน Router ของ หรือในกรณีที่ต้องการจะค้นหาจุดเสียและยังแสดงสถิติถึงระยะเวลาที่ได้เปิด router ตัวนี้ ใช้งาน รวมทั้งชื่อของ image Fileคำสั่ง show startup-configค่าสั่ง show startup-config เป็นค่าสั่งที่ท่าให้ผู้บริหารเครือข่าย สามารถมองเห็น ขนาดของ image และค่าสั่ง Startup configuration ที่จะถูกน่ามาใช้ในครั้งต่อไปที่มีการ Start ตัว routerคาสั่ง show interfacesคำสั่ง show interfaces เป็นค่าสั่งที่ใช้แสดงค่าพารามิเตอร์ที่ได้ถูกจัดตั้งไว้แล้ว รวมทั้งสถิติการท่างานของ อินเทอร์เฟส แบบเวลาจริงที่เกิดขึ้นบน router ในขณะนั้น

6. การเลือกเส้นทางแบบ static คืออะไรการเลือกเส้นทางแบบ Static การเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้# เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก# เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว# ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น# ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทาง

7. การเลือกเส้นทางแบบ dynamic คืออะไรการเลือกเส้นทางแบบ Dynamic นี้ เป็นการใช้ ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับ Router เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกเส้นทางระหว่าง Router โดยที่เราเรียกว่า โปรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) ข้อดีของการใช้ Routing Protocol ได้แก่ การที่ Router สามารถใช้ Routing Protocol นี้เพื่อการสร้าง ตาราง เลือกเส้นทางจากสภาวะของเครือข่ายในขณะนั้น ประโยชน์ของการใช้ Routing Protocol มีดังนี้เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ Router สามารถจัดการ หากมีการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเกิดขึ้น ได้เอง Router สามารถเลือกเส้นทางเดินของเครือข่ายที่ดีที่สุดไปยังปลายทางเมื่อใดที่เส้นทางบนเครือข่าย เกิดสะดุด ติดขัด หรือถูกตัดขาด Router สามารถหาเส้นอื่นมาทดแทนกันได้รูปแบบการเชื่อมต่อ ของ Router ภายใต้การใช้งาน Routing Protocol นี้ มักจะเป็นไปในรูปแบบของกึ่ง Mesh (Partial Mesh)แบบ Mesh ชนิดเต็มขั้น หรือ Fully Meshแบบ Loop

8. Protocol ที่เลือกเส้นทางแบบ dynamic คืออะไรโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้Interior Gateway Routing ProtocolExterior Gateway Routing ProtocolDistance Vector Routing ProtocolLink State Routing Protocol

9. อธิบาย Protocol Distance Vector ให้เข้าใจDistance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออก ไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น Vectorหลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอน

10. Protocol BGP คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไรBGP (Border Gateway Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP

11. สายใยแก้วนำแสงมีกี่ชนิดสายใยแก้วนำแสง อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ1. ซิงเกิล โหมด ( single mode )2. มัลติโหมด ( Multimode )

12. สัญญาณของสายใยแก้วนำแสงชนิดต่างๆ1. ซิงเกิล โหมด ( single mode ) เป็นสายที่มีขนาดของ core เล็กนิยมใช้กับการส่งข้อมูลเป็นระยะทางไกลๆ ปกติใช้แหล่งกำเนิดแสง ( Light source )ที่สร้างด้วยเลเซอร์เพื่อส่งแสงเข้าไปภายในสาย ซึ่งมีลักษณะการส่องไฟฉายเข้าไปภายในท่อกลวง และจากการที่ใช้แหล่งกำเนิดแสงเพียงชุดเดียว ทำให้แต่ละครั้งสามารถส่งสัญญาณได้เพียงชุดเดียวด้วยสายใยแก้วนำแสงชนิดนี้2. มัลติโหมด ( Multimode ) สามารถส่งสัญญาณแสงได้พร้อมๆ กันหลายชุด โดยทั่วๆ ไปแสงที่ใช้งานนั้นกำเนิดด้วยไดโอดเปล่งแสง ( Light Emitting Diode ) หรือ LED แทนที่จะใช้เลเซอร์ ในแต่ละครั้งที่มีการส่องแสงเข้าไปนั้นจะมีมุมที่แตกต่างกันและมีการสะท้อนออก จากผิวของ core

13. จงบอกข้อดีของสายใยแก้วนำแสงข้อดีของการใช้สายใยแก้วนำแสงแทนสายทองแดง มีหลากหลายประการ เช่น การรบกวน EMI,RFI และ NEXT ไม่มีผลกระทบ และยังมีการลดทอนสัญญาณน้อยมากเมื่อใช้สายแบบ ซิงเกิลโหมด

14. ขนาดของ Core และ Cladding ในเส้นใยแก้วนำแสงแต่ละชนิดCore มีความหนาประมาณเส้นผมมนุษย์อยู่ตรงกลางของสาย และล้อมรอบด้วยแท่งแก้วในส่วนที่เรียกว่า Cladding ทั้งนี้ทั้ง core และ cladding จะถูกห่อหุ้มด้วยเปลือกนอกเพื่อการป้องกัน เมื่ออธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติของสายใยแก้วนำแสงแล้วปกติมักแสดงด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ core ส่วนด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ cladding โดยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมีหน่วยวัดเป็น " ไมครอน " ( Microns ) ซึ่งมีค่าเท่ากับ ประมาณ 1/25,000 นิ้ว

15. การเชื่อมต่อโดยวิธีการหลอดรวมทำได้โดยวิธีใดการเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมรวม (Fusion Splice)การเชื่อมต่อด้วยวิธีการหลอมรวม เป็นวิธีการเชื่อมต่อเส้นใยแก้วนำแสงสองเส้นด้วยการใช้ความร้อนปลายเส้นใยแก้ว จากนั้นปลายเส้นใยแก้วก็จะถูกดันมาเชื่อมต่อกัน การเชื่อมต่อในลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวร เส้นใยแก้วนำแสงที่เชื่อมต่อกันแล้วดูเสมอว่าเป็นเส้นเดียวกัน การสูญเสียที่เกิดจากการเชื่อมต่อด้วยวิธีนี้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.01-0.2 dB ในขั้นตอนของการเชื่อมต่อนั้น ความร้อนที่ทำให้ปลายเส้นใยแก้วนำแสงอ่อนตัวนั้น มาจากประกายไฟที่เกิดจากการอาร์กระหว่างขั้วอิเล็กโหมดในการหลอมรวมสำหรับการเชื่อมต่อแบบหลอมรวมแบบเดิมนั้น การปรับตำแหน่งการวางตัวของเส้นใยแก้วนำแสง 2 เส้น อาศัยวิธีการปรับฐานรองด้วยการสังเกตผ่านกล้องขยาย แต่ในปัจจุบันมีการใช้วิธีการทางแสงมาช่วยในการจัดวางดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างอัตโมมัติ วิธีการนี้มีชื่อว่า "แอลไอดี (Light Injection and Detection, LID)" โดยอาศัยหลักการตรวจวัดปริมาณแสงที่ได้จากเส้นใยแก้วนำแสงเส้นที่สองซึ่งส่งผ่านมาจากเส้นใยแก้วเส้นที่ 1 ถ้าพบว่าการวางตัวของเส้นใยแก้วทั้งสองอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมปริมาณแสงที่ตรวจวัดได้จะให้ค่ามากที่สุดพร้อมที่จะทำการหลอมรวม แสงที่ใช้ในการตรวจสอบมาจากการส่งผ่านแสงของแอลอีดี เข้าไปในบริเวณที่เส้นใยแก้วถูกทำให้โค้ง โดยท่อทรงกระบอกซึ่งมีรัศมีเล็ก (ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร)และการตรวจวัดแสงก็อาศัยอุปกรณ์รับแสง ซึ่งวางชิดกับบริเวณที่ถูกทำให้โค้งของเส้นใยแก้วนำแสง วิธีการตรวจวัดแสงดังกล่าว อาศัยคุณสมบัติของใยแก้วนำแสงเกี่ยวกับการโค้งงอของเส้นใยแก้วที่ทำให้เกิดการสูญเสียขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Protocol

Protocol คืออะไร
โปรโตคอล คือ ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับสื่อสารข้อมูล ให้สามารถสื่อสารข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง สำหรับโปรโตคอลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกคือ TCP/IP สำหรับโปรโตคอลอื่นๆ อีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX โปรโตคอล NetBIOS และโปรโตคอล AppleTalk เป็นต้นการที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจนั้น จำเป็นต้องมีภาษาในการสื่อสารโดยเฉพาะ สำหรับภาษาของการสื่อสารในคอมพิวเตอร์เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เป็นระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสาร ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันหรือรับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทางได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด โปรโตคอลที่ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายหลายแบบเช่น NetBEUI ซึ่งเป็นโปรโตคอลอีกตัวหนึ่งที่ใช้ได้ดีในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows เป็นหลัก แต่ไม่สามารถทำงานได้เร็วมากนัก นิยมใช้ในระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าอย่าง Windows for Workgroup 3.11 เป็นต้น และก็ยังมีโปรโตคอลอื่นๆ อีกมาก แต่ส่วนมากที่ใช้กันเป็นหลักก็คือโปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol)
TCP/IP
เป็นโปรโตคอลที่ใช้กันในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งแน่นอนว่าใช้ใน Home Network ได้ด้วย TCP/IP จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย การทำงาน TCP/IP จะมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นขนาดย่อยๆ เรียกว่า "แพ็กเกจ" จากนั้นจึงทยอยส่งกันไปจนถึงจุดหมายปลายทาง เสร็จแล้วจึงจะรวมแพ็กเกจย่อยๆ นั้นเป็นข้อมูลต้นฉบับอีกครั้ง และมีการรับประกันความถูกต้องโดยตัวมันเอง
IP Address
การติดต่อสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP นอกจากการทำงานของ TCP/IP แล้ว ยังจำเป็นต้องมีการกำหนดเลขหมายของอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่าย เพื่อเกิดการอ้างอิงโดยไม่ซ้ำกันจะได้ส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เลขหมายดังกล่าวเรียกว่า ไอพีแอดเดรส เป็นตัวเลขหลัก 4 ชุดที่คั่นด้วยจุด เช่น 192.168.0.1 ไอพีแอดเดรสก็เปรียบเหมือนกับเลขที่บ้าน โดยบ้านแต่ละหลังจะต้องมีเลขที่บ้านโดยต้องไม่ซ้ำกัน เพราะถ้าซ้ำกันแล้ว บุรุษไปรษณีย์คงจะส่งจดหมายไม่ถูก สำหรับใน Home Network ของเรานี้ จะเริ่มกำหนดไอพีแอดเดรส 192.168.0.1 เป็นต้นไป เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 1 กำหนดไอพีแอดเดรสเป็น 192.168.0.2 คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 2 มีไอพีแอดเดรสเป็น 192.168.0.2 แบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่ต้องไม่เกิน 192.168.0.254 ครับ (คิดว่าคงไม่มีบ้านไหนมีคอมพิวเตอร์ถึง 254 เครื่อง) นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความเร็วในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล ในปัจจุบันมีมาตรฐานที่เรียกว่า Fast Ethernet หัวใจหลักของ Fast Ethernet ก็คือความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้ถึง 100 Mbps (หนึ่งล้านบิตต่อวินาที) และความเร็วขนาด 1000 Mbps หรือ 1 Gbps (พันล้านบิตต่อวินาที) และอาจถึง 10 Gbps ในอนาคตอันใกล้นี้ สำหรับ Home Network ที่แนะนำให้คุณผู้อ่านรู้จัก และจะเริ่มลงมือปฏิบัติต่อไปนี้ จะเป็นระบบ LAN แบบ Peer to Peer ใช้รูปแบบการเชื่อมต่อแบบสตาร์ โดยใช้สาย UTP และมีอุปกรณ์เพิ่มเติมคือ ฮับ หรือ สวิตซ์ และกำหนดไอพีแอดเดรส เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.1 เป็นต้นไป
IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) และ EIA (Electronics Association)
เป็นหน่วยงานสากลที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานของการออกแบบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ กำหนดรูปแบบ
การส่งสัญญาณ จะมีโปรโตคอลอยู่ 3 แบบ ด้วยกันคือ
• ARCnet
• Ethernet
• Token Ring
• ARCnet หรือ Attached ARCnet Resource Computing Network เป็นโปรโตคอลที่ออบแบบโดยบริษัท Data Point
ในช่วงปีคศ.1977 ใช้หลักการแบบ "Transmission Permission" ในการส่งข้อมูล จะมีการกำหนดตำแหน่งแอดเดรสของเครื่องเวิร์กสเตชั่นลงไปด้วย สามารถจะเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus และ Star มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลค่อนข้างน้อยเพียง 2.5 Kbps (2.5 เมกกะบิตต่อวินาที) ทำให้ไม่เป็นที่นิยมใช้งาน
Ethernet
เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยบริษัท Xerox ในช่วงปี คศ.1970 ใช้หลักการทำงานแบบ CSMA/CD(Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) ในการส่งแมสเซจไปบนสายสัญญาณของระบบเครือข่าย ถ้าหากมีการส่งออกมาพร้อมกันย่อมจะเกิดการชนกัน (Collision) ของสัญญาณ ทำให้การส่งผ่านข้อมูลต้องหยุดลงทันที CSMA/CD จะใช้วิธีของ Listen before-Transmiting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่าขณะนั้นมีเวิร์กสเตชั่นเครื่องใดทำการรับ-ส่งแมสเซจบนสายเคเบิ้ลอยู่หรือไม่? ถ้ามีก็ต้องรอจนกว่าสายเคเบิ้ลจะว่าง แล้วจึงส่งข้อมูลออกไปบนสายเคเบิ้ล
โปรโตคอล Ethernet เป็นมาตรฐานของ IEEE 802.3 สามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง Bus และ Star โดยใช้สาย Coaxial หรือสายทองแดงคู่ตีเกลียว (UTP = Unsheild Twisted Pair) ที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10 Mpbs (10 เมกกะบิตต่อวินาที) ในปัจจุบันได้พัฒนาความเร็วเป็น 100 Mbps มีความยาวสูงสุดระหว่างเครื่องเวิร์กสเตชั่น 2.8 กิโลเมตรในการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ไปบนสายเคเบิ้ล จะใช้แบบ Machestes Encodeb Digital Base band และกล่าวถึงสัญญาณดิจิตอล 0-1 ในการส่งผ่านไปบนสายเคเบิ้ล Ethernet มีรูปแบบการต่อสายเคเบิ้ล 3 แบบด้วยกันคือ
• 10 Base T
• 10 Base 2
• 10 Base 5
10 Base T เป็นรูปแบบในการต่อสายที่นิยมมาก "10" หมายถึงความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล (10 เมกกะบิตต่อวินาที) "Base" หมายถึง ลักษณะการส่งข้อมูลแบบ Base band ซึ่งเป็นดิจิตอล และ "T" หมายถึง Twisted Pair (สายทองแดงคู่ตีเกลียว) สรุปแล้ว 10 Base T คือ การใช้สาย Twisted Pair ในการรับ-ส่งมีความเร็ว 10 Mbps ด้วยสัญญาณแบบ Base band ปัจจุบันจะใช้สาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งจะมีสายเส้นเล็กๆ ภายใน 8 เส้นตีเกลียวกับ 4 คู่
10 Base 2 เป็นรูปแบบต่อสายโดยใช้สาย Coaxial มีเส้นศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial สายจะมีความยาวไม่เกิน 180 เมตร
10 Base 5 เป็นรูปแบบในการต่อสายโดยใช้สาย Coaxial ขนาดใหญ่ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว เรียกว่าสาย Thick Coaxial การเชื่อมต่อละจุดจะมี Transcever เป็นตัวเชื่อมและใช้สายเคเบิ้ล AUI เชื่อมระหว่างเครื่องเวิร์กสเตชั่น สายจะมีความยาวไม่เกิน 500 เมตร
Token Ring เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยบริษัท IBM ใช้มาตรฐานของ IEEE 802.5 มีระบบการติดต่อแบบ Token-Passing สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Ring และ Star มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 4/16 Mbps และยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของเครื่องเมนเฟรมได้โดยตรง จากปัญหาที่เกิดการชนกันของสัญญาณ (Collision) เป็นเหตุให้ IBM หันมาใช้สัญญาณ Token เพื่อติดต่อระหว่างโหมด ขั้นตอนการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Token-Passing Ring มีดังนี้
• ชุดข้อมูล Token จะถูกส่งให้วิ่งไปรอบๆ วงแหวนของเน็ตเวิร์ก ถ้ามีเวิร์กสเตชั่นเครื่องใดต้องการจะส่งผ่านข้อมูล ก็จะต้องรอจนกว่า Token นั้นว่างก่อน
• เมื่อรับ Token ว่างมาแล้ว ก็จะทำการเคลื่อนย้ายเฟรมข้อมูลต่อท้ายกับ Token นั้นแล้วส่งข้อมูลไปยังปลายทาง
• เวิร์กสเตชั่นอื่นที่ต้องการจะส่งข้อมูลก็ต้องรอจนกว่า Token จะว่าจึงจะส่งข้อมูลได้
เน็ตเวิร์กโปโตคอลที่ต้องใช้งาน
ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์ จะใช้โปรแกรมโตคอลในการสื่อสารข้อมูล การค้นหาเส้นทางสนับสนุนการใช้บริการต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกันคือ
TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นใน
ปี ค.ศ.1969 โดยเครือข่ายทางทหารของสหรัฐอเมริกาชื่อ ARPANET (Advanced Research Project Agency Network) เพื่อใช้กับระบบเครือข่าย WAN ต่อมาได้นำมาใช้งานเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายสาธารณะขนาดใหญ่หรืออินเตอร์เน็ต TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นในการทำงานสูงสามารถจะค้นหาเส้นทางได้ เหมาะสำหรับใช้ในองค์กรขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ สามารถจะส่งผ่านข้อมูลข้ามระบบที่ต่างกันได้ เช่น Windows กับ UNIX หรือ Netware หรือ Linux
NetBEUI (NetBIOS Extended Use Interface)
เป็นโปตคอลที่พัฒนามาจาก NetBIOS เริ่มใช้งานประมาณปี ค.ศ.1985 ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับเครือข่ายขนาดเล็ก เช่น ระบบ LAN ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 10-200 เครื่อง NetBEUI ไม่สามารถจะค้นหาเส้นทางได้ และทำการ Route ข้อมูลข้ามเครือข่ายไม่ได้ เหมาะสำหรับเครือข่าย LAN แต่ไม่เหมาะกับระบบ WAN ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ Windows 2000 ยังสนับสนุนไคลเอ็นต์รุ่นเก่าที่ใช้โปรโตคอลตัวนี้อยู่
IPX/SPX (Intenetwork Packet Exchange/Sequanced Packet Exchange)
เป็นโปรโตคอลที่พัฒนามาจาก XNS Protocol (ของบริษัท Xerox Corporation และทางบริษัท Novell ได้นำพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น) จะมีความสามารถในการค้นหาเส้นทางสำหรับเครือข่ายระบบ LAN และ WAN ทางไมโครซอฟท์ก็สนับสนุนโปรโตคอลตัวนี้แต่เรียกว่า NWLink IPX/SPX Compatible Transport Protocol ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ Netware สามารถใช้งานฐานข้อมูล SQL Server บน Windows NT ได้ หรือการเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ SNA ที่เชื่อมต่อกับเครื่อง Mainframe ของ IBMDLC (Data Link Control) เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบพัฒนาโดยบริษัท IBM เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อสื่อสารกับเครื่องเมนเฟรมของ IBM,AS/400 ที่ใช้สถาปัตยกรรมเครือข่าย SNA (System Network Architecture)

ข้อสอบ ATMเพิ่ม 7 ข้อ

1.ข้อใดเป็นวิธีการกำหนดให้มีการส่งและรับข้อมูลด้วยอัตราคงที่
ก. AAL1
ข. AAL2
ค. AAL3 / 4
ง. AAL5
เฉลย ข้อ ก. AAL1
2.เครือข่ายอย่างง่ายที่สุดของ ATM ประกอบด้วยชิ้นส่วนเครือข่ายอะไรบ้าง
ก. ATM Switch
ข. ATM end point
ค. ถูกเฉพาะข้อ ก.
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
เฉลย ข้อ ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
3.เครือข่าย ATM ใช้อะไรเป็นมาตรฐาน
ก. สัญญาณคลื่นวิทยุ
ข. คลื่นไฟฟ้า
ค. โปรโตคอล
ง. สัญญาณคลื่นแม่เหล็ก
เฉลย ข้อ ค. โปรโตคอล
4. ระบบเครือข่าย ATM เป็นระบบแบบใด
ก. ระบบไร้สาย
ข. ระบบเคลื่อนที่
ค. ระบบแบบสวิตซ์
ง. ระบบเปิด ปิด
เฉลย ข้อ ค. ระบบแบบสวิตซ์
5. HEC (Header Error Check) ทำหน้าที่อะไร
ก. สำรวจข้อมูล
ข. จัดเก็บข้อมูล
ค. ตรวจสอบข้อมูล
ง. จัดส่งข้อมูล
เฉลย ข้อ ค. ตรวจสอบข้อมูล
6. ข้อใดคือสิ่งที่สามารถใช้ในเครือข่าย ATM
ก. สายโคแอคเชียล
ข. สายไฟเบอร์ออปติค
ค. สายไขว้คู่ง. ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ ง. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติที่ดีของโปรโตคอล ATM
ก. ไม่มีการกำหนดเส้นทางข้อมูลตายตัว (วงจรเสมือน)
ข. ไม่มีความผิดพลาดในการลิงค์กันระหว่างสถานี
ค. ไม่สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงมากได้
ง. ใช้วงจรเสมือนทำให้การสวิตชิ่งมีความซับซ้อนน้อย และประหยัดซอฟต์แวร์ในการช่วยจัดเส้นทางข้อมูล
เฉลย ข้อ ค. ไม่สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงมากได้

Router

Router คืออะไร
Router เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า Bridge โดยทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไป เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่นๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นจึงอาจใช้ Router ในการเชื่อมต่อ LAN หลายแบบเข้าด้วยกันผ่าน WAN ได้ด้วย และเนื่องจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็น node หนึ่งใน LAN นี้ยังทำให้มันสามารถทำงานอื่นๆได้อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย
การทำงานของ Router
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router คือ Bridge ทำงานในระดับ Data Link Layer คือจะใช้ข้อมูล station address ในการทำงานส่งข้อมูลไปยังที่ใดๆ ซึ่งหมายเลข station address นี้มีการกำหนดมาจากฮาร์ดแวร์หรือที่ส่วนของ Network Interface Card (NIC) และถูกกำหนดมาเฉพาะตัวจากโรงงานไม่ให้ซ้ำกัน ถ้ามีการเปลี่ยน NIC นี้ไป ก็จำทำให้ station address เปลี่ยนไปด้วย ส่วน Network Layer address ในการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอลของเครือข่ายชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IPX, TCP/IP หรือ AppleTalk ซึ่งจะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานใน Network Layer การกำหนด Network address ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้น ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์ Router เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกันให้สามารถส่งผ่านข้อมูลร่วมกันได้และทำให้เครือข่ายขยายออกไปได้เรื่อยๆ
หน้าที่หลักของ Router
คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง
ข้อสอบ Router
1. แอดเดรสที่ใช้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า "ไอพีแอดเดรส" แพ็กเก็ตข้อมูลทุกแพ็กเก็ตมีกี่บิต
ก. 32 บิต
ข. 64 บิต
ค. 84 บิต
ง. ไม่มีข้อถูก
เฉลย ข้อ ก. 32 บิต
2. อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้ง LAN และ WAN ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. บริตจ์ (Bridge)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค. สวิตซ์ (Switch)
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ข้อ ง. ถูกทุกข้อ
3. การส่งข้อมูลจะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น Packet ในรูปแบบของ Layer ซึ่งมีกี่รูปแบบ
ก. 1 รูปแบบ
ข. 2 รูปแบบ
ค. 3 รูปแบบ
ง. 4 รูปแบบ
เฉลย ข้อ ข. 2 รูปแบบ
4. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร
ก. สวิตซ์แพ็กเก็ตข้อมูล
ข. เราเตอร์แพ็กเก็ต
ค. บริดจ์แพ็กเก็ต
ง. ไอพีแอดเดรสแพ็กเก็ต
เฉลย ข้อ ก.สวิตซ์แพ็กเก็ตข้อมูล
5. Router ทำหน้าที่เกี่ยวกับอะไร
ก. ทำหน้าที่เชื่อมโยงระบบ
ข.ทำหน้าที่กำหนดงานของแต่ละงาน
ค. ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลไปยังปลายทาง
ง. ทำหน้าที่หาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล
เฉลย ข้อ ง. ทำหน้าที่หาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล

ความหมายของ OOP

OOP (Object Oriented Programming)
เป็นวิธีการเขียนโปรแกรมซึ่งจัดดำ เนินการกับกลุ่มของ ออบเจ็กต์ (Object) ที่มีอยู่ในโปรแกรม ออบเจ็กต์ เป็นชนิดของข้อมูลซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มของ ข้อมูล(data) และกลุ่มของฟังก์ชัน(Function) โดยการใช้ข้อมูลและฟังก์ชันเหล่านี้ แต่ละออบเจ็กต์จะทำ งาน 1 งานได้สมบูรณ์(ทั้งนี้เนื่องจากตัวออบเจ็กต์เองประกอบไปด้วยข้อมูลและฟังก์ชัน) ออบเจ็กต์ เป็นสมาชิกของ ตัวแปรคลาส (class variable) มีลักษณะเป็นโมดูล (modularity) ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแปร ชนิดต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน และประกอบด้วย ฟังก์ชัน ต่าง ๆ โดยที่ คลาส(class) จะห่อหุ้มข้อมูลและฟังก์ชันรวมไว้ด้วยกันมีลักษณะที่เรียกว่า encapsulation ดังนั้นจึงมีความสะดวกในการใช้งาน สามารถป้องกันส่วนอื่น ๆ ของโปรแกรมไม่ให้เข้าถึงตัวแปรชนิดโลคอลภายในคลาสได้อย่างดีเยี่ยม ดังนั้น การเขียนโปรแกรมแบบ OOP คือ การสร้างและ/หรือการเรียกใช้ออบเจ็กต์ให้ทำงานตามที่เราต้องการ ในการเรียกใช้ออบเจ็กต์นั้น เราจะสนใจเฉพาะการทำ งานของออบเจ็กต็เท่านั้น ไม่จำ เป็นต้องสนใจรายละเอียดภายในของออบเจ็กต์ว่าเป็นอย่างไรการใช้ออบเจ็กต์ของโปรแกรมจะมีลักษณะคล้ายกับการใช้สิ่งของในชีวิตประจำ วันของเรา เช่น การใช้โทรทัศน์ เราสามารถใช้ได้โดยไม่จำ เป็นต้องรู้ว่าภายในเครื่องโทรทัศน์มี "ส่วนประกอบ" อะไรบ้าง และไม่จำ เป็นต้องรู้ว่าแต่ละส่วนประกอบทำ งานอย่างไร เราจะรู้เพียงแค่วิธีใช้ เช่น วิธีเปิด วิธีเปลี่ยนช่อง วิธีปรับเสียง วิธีปรับสี วิธีตั้งเวลา วิธีปิดเครื่อง เป็นต้น ลักษณะของโปรแกรมแบบ OOPก็มีลักษณะคล้ายกับการใช้โทรทัศน์ในชีวิตประจำ วัน ซึ่งจะได้ศึกษาถึงวิธีการสร้างและวิธีการใช้ OOP ต่อไป
คุณสมบัติของ OOP
1.Inheritance เป็นคุณสมบัตที่ว่า Class ต้องสามารถสืบทอด ได้เช่นเดียวกับภาษาโปรแกรม ที่กำหนด เป็น Component ทั้งที่ มองเห็นและมองไม่เห็น ก็ต้องสืบทอดได้ โดย ดีไรฟว์คลาส ก็คือ Class ที่ถูกสืบทอดมา นั้น สามารถเพิ่มเติม Poperty หรือ Method เดิมได้ตามความเหมาะสม
2.Polymorphismเป็นคุณสมบัติที่ว่า สามารถเปลี่ยนแปลงความสามารถ ของ Class ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เราสร้าง Class ที่ชื่อว่า Shape ซึ่งจะใช้สร้าง Object เป็นรูปทรงต่างๆ เช่น วงกลม, สามเหลี่ยม และ สี่เหลี่ยม เป็นต้น แล้วเราก็มี Method Area เพื่อหาพื้นที่ของรูปทรงต่างๆ แน่นอนว่า Method Area ของการเรียกใช้งานแต่ละครั้ง ต้องคำนึงด้วยว่า เราระบุ Poperty ของรูปทรงว่าเป็นรูปทรงอะไร ซึ่งจะทำให้เรามีวิธีการคำนวนหา ที่แตกต่างกันนั่นเอง
3. Overloading คือ เมทธอดที่มีชื่อซ้ำกันในคลาส; ตัวแปรก็สามารถตั้งซ้ำกันได้ในโปรแกรม แต่ต้องอยู่กันคนละขอบเขต เป็นความสามารถของตัวแปรภาษา ที่จะตัวสอบ Signature ของ Function แล้วแปลออกมาได้อย่างถูกต้อง
4. Overriding คือ การแทนที่รายละเอียดการทำงานของคลาสแม่ ด้วยรายละเอียดการทำงานของคลาสลูก
5. Abstract class คือ class ที่ไม่ระบุรายละเอียดการทำงาน
6. Abstract method คือ method ที่มีคำว่า ‘abstract’ อยู่หน้าชื่อ และมีเพียงชื่อของ method โดยไม่มีตัวโปรแกรม และหากคลาสใด มี method ใด method หนึ่งเป็น Abstract คลาสนั้นจะต้องเป็น Abstract ด้วย (เรียกว่า Abstract class) และต้องมี คำว่า ‘abstract’ อยู่หน้าชื่อคลาส ในตอนกำหนดคลาสด้วย มิฉะนั้นจะไม่ผ่านการคอมไพล์

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบ VB.NET

1. คำสั่ง Ctrl+y คือคำสั่งใด
ก. เพิ่มข้อความ
ข. ลบบรรทัดทิ้ง
ค. คัดลอกข้อความ
ง. พิมพ์ข้อความ
เฉลย ข้อ ข.ลบบรรทัดทิ้ง
2. Visual Basic.NET เป็นภาษาที่พัฒนาต่อจาก Visual Basic ใด
ก. Visual Basic 5.0
ข. Visual Basic 6.0
ค. Visual Basic 7.0
ง. ถูกทั้ง ข.และ ค.
เฉลย ข้อ ง.ถูกทั้ง ข.และ ค.
3. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบหน้าจอโปรแกรม
ก. Labal
ข. Splitter
ค. Notify Iconง
. ถูกทุกข้อ
เฉลย ข้อ ง.ถูกทุกข้อ
4. Visual Basic.NET เป็นภาษาที่อยู่ในชุดเครื่องมือ Microsoft Studio.NET โดยใช้ IDE รวมกับภาษาอื่นอีก 3 ภาษา คือภาษาใดบ้าง
ก. Visual Basic C#
ข. Visual Basic C++
ค. Visual Basic J#
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ข้อ ง.ถูกทุกข้อ
5. คำสั่ง F5 คือคำสั่งใด
ก. เปิดโปรแกรม
ข. แสดงตัวอย่าง
ค. สั่งทำงาน
ง. ปิดโปรแกรม
เฉลย ข้อ ค.ปิดโปรแกรม

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เครือข่าย ATM

เครือข่าย ATM
เครือข่าย ATM จะใช้โปรโตคอล ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นมาตาฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งช้อมูลสูงมาก สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมิได้ตั้งแต่สายไฟเบอร์ออปติก สายโคแอกเชียล หรือสายไขว้คู่(Twisted pair) มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึง 622 Mbps ATM ถูกพัฒนามาจากเครือข่าย Packet-switching ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า packet ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละ packet ออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และสามารถรับประกันคุณภาพของการส่งได้ (มี Quality of Service)

ลักษณะการทำงานของ ATM
ATM เป็นมาตรฐานรูปแบบการส่งข้อมูลความเร็วสูงที่ถูกพัฒนามาสำหรับงานที่ต้องการความเร็วในการส่ง ข้อมูลสูงมาก ๆ ข้อมูลที่ส่งในเครือข่าย ATM จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเล็ก ๆ เรียกว่า "เซลล์(cell)" มีขนาด 53 ไบต์ ประกอบด้วยส่วนข้อมูล (payload) ขนาด 48 byte และส่วนหัว (Header) ขนาด 5 ไบต์ ส่วนหัวจะเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมการส่งเช่น จุดหมายปลายทางระดับความสำคัญของเซลล์นั้น โดยจะประกอบด้วย
VPI (Virtual Path Identifier) และ VCI (Virtual Circuit Identifier)ทำหน้าที่กำหนดวงจรเสมือน (virtual circuit)ในการเดินทางให้กับเซลนั้น
HEC (Header Error Check) ทำหน้าที่ตรวจสอบเซลล์ ที่ไม่สอดคล้องตามที่ระบุในส่วนหัว สวิตซ์ ATM จะทำหน้าที่ ในการมัลติเพล็กซ์และจัดการส่งข้อมูลนั้นตามที่กำหนดไว้ในส่วนหัวไปสู่ปลายทาง เมื่อข้อมูลของผู้ใช้เข้ามา จะถูกตัวแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 48 byte และ เติมส่วนหัวเข้าไปอีก 5 byte แล้วจึงส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่าย ATM ซึ่งระบุไว้โดยส่วนหัว เมื่อถึงปลายทางแล้วก็จะเอาส่วนหัวออก แล้วประกอบกันเป็นข้อมูลชิ้นใหญ่ เหมือนเดิม ลักษณะของ ATM นี้ จะคล้ายกับเครือข่าย packet-switching อื่น ๆ ที่มีอยู่ เช่น x.25 หรือ frame relay แต่ต่างกันที่ ATM จะมีขนาด pack เล็กและคงที่

โครงสร้างโพโตคอลของ ATM จะแบ่งการทำงานที่สลับซับซ้อนออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่
1. Physical Layer (PHY) เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวนำสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณดิจิตอล ในการนำ ATM มาใช้ในเครือข่ายโทรคมนาคมนั้นจะนำมาใช้ร่วมกับ SONET ZSynchronous Optical Network) /SDH (Synchronous Digital Hierarchy) โดยมีเส้นใยแก้วนำแสดงเป็นตัวนำสัญญาณ
2. Asynchronous Transfer Mode Layer (ATM) หน้าที่สร้างส่วน header ของเซลล์ และประมวลผลส่วน header ของเซลล์ที่รับเข้ามา โดยอ่านค่า VCI/VPI ของเซลล์และหาเส้นทางที่จะส่งเซลล์ ออกไปแล้วจึงกำหนด VCI/VPI ใหม่ให้กับส่วน header ของเซลล์นั้น
3. ATM Adaptation Layer (AAL) ทำหน้าที่ปรับบริการที่ได้รับจากชั้น ATM ให้สอดคล้อง กับความต้องการของโพโตคอลและแปพลิเคชั่น ในชั้น higher layer โดยแบ่งเป็น 5 ชนิดด้วยกันเพื่อใช้กับ แอปพลิเคชันที่ต่างกันดังต่อไปนี้
- AAL1 เป็นวิธีการกำหนดให้มีการส่งและรับข้อมูลด้วยอัตราคงที่ (constant bit rate) โดยการจำลองวงจรการเชื่อมโยงระหว่างตัวรับตัวส่งข้อมูลที่ส่งมีลักษณะเป็น stream เพื่อใช้กับแอปพลิเคชันที่มีการส่งสัญญาณแบบจุดไปจุดอย่างต่อเนื่อง
- AAL2 เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตามทที่ต้องการ (variable bit rate) โดยเน้นการใช้อัตราความเร็วตามที่ต้องการ จึงนำมาใช้กับการรับส่งสัญญาณเสียงและภาพได้
- AAL3/4 เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตามที่ต้องการ (variable bit rate) เช่นเดียวกับ AAL2 แต่ต่างกันที่สามารถรับส่งข้อมูลแบบ asynchronous ได้ กล่าวคือ เวลาในการส่งและรับข้อมูลไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน
- AAL5 มีวิธีการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับ AAL3/4 ข้อแตกต่างกันคือสามารถใช้กับการสื่อสาร ข้อมูลซึ่งมีการเชื่อมต่อแบบ connectionless ได้ และมีส่วน header ของ payload สั้นกว่า AAL3/4 โพรโตคอลในชั้น AAL นี้จะควบคุมการติดต่อสื่อสารจากต้นทางถึงปลายทาง และจะถูกประมวลผลโดยผู้ส่งและ ผู้รับข้อความ (Message) เท่านั้น ชั้น AAL แบ่งออกเป็นชั้นย่อย 2 ชั้น คือชั้น Convergence Sublayer (CS) ช่วยในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Interface) ที่ไม่ใช่ ATM เข้ากับ ATM และชั้น Segmentation and Reassembly Sublayer (SAR) ทำหน้าที่ตัดข้อความที่โพรโตคอลหรือแอปพลิเคชันต้องการส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อนำไปสร้างเซลล์หรือนำส่วนข้อมูล (information) จาก payload ของเซลล์มาต่อกันเป็นข้อความ

ข้อดีของ ATM
1. ATM ถูกพัฒนาให้เป็นมาตรฐานกลางของการสื่อสารทั่วโลก อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ถึงแม้จะต่างชนิดกัน โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อใด กล่าวคือ เป็นมาตรฐานกลางที่ร่วมกัน กำหนดขึ้นเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน
2. ATM ถูกพัฒนาเพื่อการส่งข้อมูลสำหรับทั้งเครือข่ายภายในระยะใกล้ (LAN:Local Area Network)และระยะไกล (Wide Area Network:WAN) แต่เดิมนั้มรูปแบบของการส่งข้อมูลในLANและ WAN จะแตกต่างกัน ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการเชื่อมต่อและบริหารเครือข่าย แต่ ATM จะผนวกทั้ง LAN และ WAN เข้าเป็นเครือข่ายใหญ่ที่มีมาตรฐานเดียว
3. ATM ถูกพัฒนาให้ใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบ แต่เดิมนั้นข้อมูลแต่ละรูปแบบได้แก่ สัญญาณเสียง (voice) ข้อมูล (data) และภาพเคลื่อนไหว (video) ต่างก็มีเครือข่ายของตนเอง โดยสัญญาณเสียงที่ใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์จะมีลักษณะ ที่มีอัตราการส่งข้อมูลคงที่เท่า ๆ กันตลอดเวลา ข้อมูลเสียงอาจยอมให้มีการสูญเสีย (error) ได้บ้าง แต่จะต้องให้มีการหน่วงเวลาน้อยที่สุด ส่วนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีอัตราการส่งข้อมูลไม่คงที่มีลักษณะเป็น bursty คือ บางเวลาจะมีข้อมูลมากเป็นกลุ่มก้อน แต่บางเวลาก็ไม่มีข้อมูลเข้ามาเลย ลักษณะนี้เรายอมให้มีการหน่วงเวลาได้บ้าง แต่จะให้มีการสูญเสีย (error) ให้น้อยที่สุดจะเห็นว่าข้อมูลต่างลักษณะกันต้องการคุณภาพในการส่งที่ต่างประเด็นกัน สำหรับ ATM เราไม่จำเป็นต้องแยกเครือข่ายสำหรับข้อมูลเหล่านี้ เนื่องจากมันถูก ออกแบบมาเพื่อใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบทั้งเสียง (voice) ข้อมูล และวิดีโอ นั่นเอง
4. ATM สามารถใช้ได้ที่ความเร็วสูงมาก ตั้งแต่ 1 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที = 1 ล้านบิตต่อวินาที) ไปจนถึง Gbps (กิกะบิตต่อวินาที = 1 พันล้านบิตต่อวินาที)
5. ATM สามารถส่งข้อมูลโดยมีการรับประกันคุณภาพการส่ง (Quality of Service) ทำให้สามารถเลือกคุณภาพตามระดับที่เหมาะสมกับความสำคัญและรูปแบบของข้อมูล โดยเราสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัตินี้กับการส่งจดหมายที่เราสามารถเลือกว่า จะส่งแบบธรรมดา,ด่วนพิเศษ (EMS) หรือ ลงทะเบียนป้องกันการสูญหาย เป็นต้น

ข้อสอบปรนัย เครือข่าย ATM
1.เครือข่าย ATM เป็นเครือข่ายที่ประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบยกเว้นข้อใด
ก.เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
ข.LAN
ค.WAN
ง.เส้นใยแสง
2.การส่งข้อมูลแบบเครือข่าย ATM ที่เรียกว่า "เซลล์" มีขนาดเท่าใด
ก.48 ไบต์
ข.52 ไบต์
ค.53 ไบต์
ง.63 ไบต์
3.โครงสร้างโปโตคอลของ ATM แบ่งออกเป็นกี่ชั้น
ก.1 ชั้น
ข.2 ชั้น
ค.3 ชั้น
ง.4 ชั้น
4.ข้อดีของ ATM คืออะไร
ก.สะดวกและประหยัด
ข.สามารถใช้กับข้อมูลได้หลายรูปแบบ
ค.การเชื่อมต่อรวดเร็ว
ง.ทันสมัย
5.เครือข่าย ATM คืออะไร

ก.การสื่อสารแบบไร้สาย
ข.การสื่อสารแบบเเพ็กเก็จ
ค.การสื่อสารแบบบหลายสาย
ง.การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต

เฉลยข้อสอบ เครือข่าย ATM
1. ก.เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
2. ค.53 ไบต์
3. ง.4 ชั้น
4. ข.สามารถใช้กับข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5. ข.การสื่อสารแบบแพ็กเก็จ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เรียนMISวันที่ 15 มิ.ย.51

TPS คืออะไรระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction Processing Systems -TPS) เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
MIS คืออะไรระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
DSS คืออะไรระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนEIS คืออะไรระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารองค์กร ในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธขององค์กร ให้สามารถจัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายหรือแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ES คืออะไรระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา

ข้อสอบอัตนัย
1.ES คืออะไร
2.DSS คืออะไร
3.MIS คืออะไร

เฉลย
1.ES คืออะไรระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล
2.DSS คืออะไรระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน
3.MIS คืออะไรระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต

ข้อสอบถูกผิด
1. TPS คือ ระบบประมวลผลรายการ
2.ES คือ ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง
3.DSS คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 4.MIS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
5.EIS คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ

เฉลยข้อสอบถูกผิด
1. ถูก 2.ผิด 3. ถูก 4. ถูก 5. ผิด

URL สมาชิกในห้อง

ส่ง URL‏เรวัต สุขดี (55.raywat@windowslive.com)(http://55raywathotmail.blogspot.com/)
ขอส่ง URL ของ bloggel‏นางสาวอภิญญา อินทร์ทอง(ame_no@hotmail.com)http://dofo-dofo.blogspot.com/
ขอส่ง URL‏นางสาวนีนาวัจน์ บริษัท (neen@thaimail.com)Urarat@hotmail.comhttp://neenawat.blogspot.com/
ขอส่ง URL‏นางสาวจิตรา สุดคำภา (tear015@thaimail.com)http://jitrajitcom.blogspot.com/
ขอส่ง url จากนายเด่น ทองสง 5022252203‏นายเด่น ทองสง (thongsong01@thaimail.com)http://thongsong01.blogspot.com/
ขอส่ง URL จาก จำลอง คำภา ครับผม‏JUMLONG-KHAPA (jumlong.com@thaimail.com)http://jumlongcom.blogspot.com/
ขอส่งURLจากนางสาวสุติมา คำเคน‏นางสาวสุติมา คำเคน (oop-oop@thaimail.com)http://sutima-sutima.blogspot.com/
ส่ง url.BloG‏Kwanrudee pothibut (n_70lady@hotmail.com)นางสาวขวัญฤดี โพธิบุตร http://noyzaa.blogspot.com/นฤมล รักศิลป์ (naumol.dot.com@thaimail.com)You may not know this sender.Mark as safeMark as unsafehttp://naumolblogspot.com/ปุ๊ ระเบิดขวด (parinya_pu@thaimail.com)This message may be dangerous. Learn morehttp://pu12-pu123sa14com.blogspot.com/ นายปริญญา สา=ลีวัน 5022252204ขอส่ง url‏ นาย วีระพงษ์ โกสีสุข (prerunner@thaimail.com)

ส่งงานวิจัย

งานวิจัยเรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้าสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ความเป็นมา
ครูอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาก คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น สามารถอธิบายบทเรียนซ้ำ ๆ กันได้ หลายครั้ง และควรจัดให้มีหน่วยงานทางการศึกษา เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากการพิจารณาลักษณะของเนื้อหาเรื่อง เครื่องวัด และการวัดทางไฟฟ้า ที่สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
2. เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น โดยใช้ เกณฑ์มาตรฐาน 80/80
3. เพื่อหาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยที่สร้างขึ้น
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ที่เลือกเรียนวิชาเลือกเสรี กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ วิชาช่างอุตสาหกรรม และวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาไฟฟ้า ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 312 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียน สวรรค์อนันต์วิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ที่เลือกเรียนวิชาเลือกเสรี กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ วิชาช่างอุตสาหกรรม และวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาไฟฟ้า ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 20 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธี การสุ่มแบบเจาะจง
นิยามศัพท์
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ในการวิจัย เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เครื่องวัดและการวัดไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. นักเรียน หมายถึง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 20 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
3. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง คุณภาพของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้จากคะแนนแบบฝึกหัดในบทเรียนและคะแนนสอบหลังการเรียนของนักเรียน ที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
4. ความก้าวหน้าทางการเรียน หมายถึง ค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบคะแนนการสอบ ก่อนเรียนและการสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. ความคิดเห็น หมายถึง ความรู้สึก ความพอใจ ความต้องการต่าง ๆ ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ในการวิจัย เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน
3. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์
4. แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับผู้เชี่ยวชาญ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การวิเคราะห์การประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าตัวกลางเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. การวิเคราะห์การประเมินความเห็นสอดคล้องเกี่ยวกับบทเรียนแต่ละกรอบภาพ ของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ จากค่าระดับความเห็นสอดคล้อง
3. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ จากการหาประสิทธิภาพ ของกระบวนการจากคะแนนการทำแบบฝึกหัดในบทเรียน และการหาค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์จากคะแนนทดสอบหลังการเรียน
4. การวิเคราะห์หาค่าความก้าวหน้าทางการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ ได้จากการ เปรียบเทียบคะแนนการสอบก่อนเรียน และการสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยนำคะแนนผลการสอบของนักเรียนหลังใช้บทเรียน กับก่อนใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาหาความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ย ใช้การทดสอบค่า (t - test Dependent Sample)
สรุปผลวิจัย
1. ได้ผลงานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.00/80.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้เท่ากับ 80/80
3. ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์มีค่าสูงขึ้น และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความพอใจกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และต้องการให้มี การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาอื่น ๆ อีก

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ไวแม็กซ์ (WiMAX)

ไวแม็กซ์ (WiMAX)
คือการออกแบบโครงสร้างและอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่ได้ถูกพัฒนามาจาก Wireless LAN หรือ Wi-Fi
ผลดีคือ ระยะทำการที่ครอบคลุมมากกว่าเครือข่ายแบบ Wireless LAN หลายเท่า
แถมยังได้ความเร็วในการให้บริการสูงเทียบเท่ากัน จึงทำให้ สามารถเชื่อมต่อระหว่างตึกต่าง ๆ
ได้ง่ายไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของภูมิประเทศอีกต่อไป
ที่มาของไวแม็กซ์
WiMAX เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่าจะถูกนำมาใช้งานในอนาคตอันใกล้นี้
โดย WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16
ซึ่งมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้นโดยได้การอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004
โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)
มาตรฐานและความถี่ของระบบ WiMAX๐ IEEE 802.16เป็นมาตราฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6 - 4.8 กิโลเมตร
เป็นมาตราฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถึ่ที่สูงมากคือ 10-66 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
๐ IEEE 802.16a เป็นมาตราฐานที่แก้ไขปรุงปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่ความถี่ 2- 11 กิกะเฮิรตซ์
ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตราฐาน 802.16 เดิม คือคุณสมบัติการรองรับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา (NLoS - Non - Line -of -Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิ เช่น ต้นไม้ ,อาคาร ฯลฯ
นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวางด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง 31 ไมล์
หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สายประเภท ที1 (T1-type) กว่า 60 รายและการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อยครัวเรือนได้พร้อมกันโดยไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
๐ IEEE 802.16e......เป็นมาตราฐานที่ออกแบบมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น PDA , Notebook เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6 - 4.8 กิโลเมตร มีระบบที่ช่วยใฟ้ผู้ใช้งานยังสามรถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งานแม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม......จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าเมื่อมีการนำเทคโนโลยีไวแม็กซ์ (WiMAX) มาใช้กันอย่างกว้างขวาง
เครือข่ายบนเทคโนโลยีไวแม็กซ์ (WiMAX) จะสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงไปยังสถานที่ต่างๆในรัศมีประมาณ 50 กิโลเมตร ครอบคลุมปริมณฑลทั้งหมดทำให้บริเวณดังกล่าวกลายเป็น WMAN (Wireless MAN) ไปอย่างอัตโนมัติบนเครือข่ายไร้สายความเร็วของไวแม็กซ์ WiMAX นั้น ได้ให้อัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณที่ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ในระยะทางไกลมากถึง 30 ไมล์ หรือ 48 กิโลเมตร ภายใต้คลื่นความถี่ระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
ทั้งก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องของสัญญาณสะท้อนอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว สถานีฐาน(Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในระหว่างความเร็ว และระยะทางได้อีก ตัวอย่างเช่น ถ้าหากการใช้เทคนิคในแบบ 64 QAM (Quadarature Amplitude Modulation) ไ
ม่สามารถรองรับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้ การเปลี่ยนไปใช้ 16 QAM หรือ QPSK (Quadarature Phase Shift Key)
ซึ่งจะช่วยเพิ่มระยะทางการในการสื่อสารให้มากขึ้นได้

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ข้อสอบวิชา wireless lan

1.ข้อใดคือความหมายของ Wireless LAN
ก. การต่อแบบใช้สาย UTP
ข. การต่อแบบมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ
ค. การต่อแบบใช้สาย COAX
ง. การต่อแบบ RING
2. ข้อใดคือความหมายของ Access Point
ก. ตัวส่งสัญญาณ
ข. ตัวรวมส่งสัญญาณ
ค. ตัวตัดสัญญาณ
ง. ตัวแปลงสัญญาณ
3. การเชื่อมต่อสัญญาณระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN ภายในอาคารข้อใดถูกต้อง
ก. ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps

ข. ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 4.5 Mbps
ค. ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
ง. ระยะ 200 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
4. การเชื่อมต่อสัญญาณระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN ภายนอกอาคารข้อใดถูกต้อง
ก. ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 15 Mbps

ข. ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 4 Mbps
ค. ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5 Mbps
ง. ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
5. การเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย Wireless LAN มีกี่แบบ
ก. 2 แบบ
ข. 3 แบบ
ค. 4 แบบ
ง. 5 แบบ
6. การเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc (Peer to Peer) คือข้อใด
ก. การเชื่อมต่อแบบมีศูนย์กลางควบคุม
ข. การเชื่อมต่อแบบไม่มีศูนย์กลางควบคุม
ค. การเชื่อมต่อแบบแอ็กเซสพอยน์เป็นศูนย์กลาง
ง. การเชื่อมต่อแบบ HUB เป็นตัวควบคุม
7. ข้อใดคือการต่อระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์
ก. ASLD
ข. ASDL
ค. ADLS
ง. ADSL
8. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN
ก. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล

ข. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว
ค. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด
ง. ส่งสัญญาณได้ไกลเกิน 1 กิโลเมตร
9. ข้อใดไม่ใช่เสียของระบบ Wireless LAN คือข้อใด
ก. มีสัญญาณรบกวนสูง
ข. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง
ค. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
ง. มีความเร็วไม่สูงมากนัก
10. ข้อใดคือมาตรฐานระบบไร้สายที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน
ก. มาตรฐาน IEEE 801.11b
ข. มาตรฐาน IEEE 802.00b
ค. มาตรฐาน IEEE 802.11b
ง. มาตรฐาน IEEE 802.12b
11. มาตรฐาน IEEE 802.11b คือข้อใด
ก. ใช้ย่านความถี่เฉพาะระหว่าง 5.15GHz ถึง 5.35GHz
ข. รัศมีทำการอยู่ 75 ฟุต
ค. ส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11Mbps
ง. ใช้เทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลได้ทั้งแบบ CKK
12. ระบบ Wireless LAN เป็นการต่อเครือข่ายแบบใด
ก. RING
ข. BUS
ค. ADLS
ง. STAR
13. Access Point เปรียบเทียบการทำงานเหมือนอุปกรณ์ใด
ก. HUB
ข. GATWAY
ค. ROUTER
ง. SWITCH
14. การเชื่อมต่อแบบ Multiple access points and roaming สามารถกระจายได้ไกลกี่เมตร
ก. 200 เมตร
ข. 300 เมตร
ค. 400 เมตร
ง. 500 เมตร
15. ข้อใดเป็นการรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย
ก. มีรหัสผ่าน
ข. มีบัญชีผู้ใช้
ค. ไม่ให้นักเรียนใช้เครื่องในวงครู
ง. ถูกทุกข้อ

เฉลย

1.ข 6.ข 11.ค
2.ก 7.ง 12.ง
3.ค 8.ง 13.ก
4.ง 9.ข 14. ง
5.ก 10.ค 15.ง