วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เครือข่าย ATM

เครือข่าย ATM
เครือข่าย ATM จะใช้โปรโตคอล ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นมาตาฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งช้อมูลสูงมาก สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมิได้ตั้งแต่สายไฟเบอร์ออปติก สายโคแอกเชียล หรือสายไขว้คู่(Twisted pair) มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึง 622 Mbps ATM ถูกพัฒนามาจากเครือข่าย Packet-switching ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า packet ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละ packet ออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และสามารถรับประกันคุณภาพของการส่งได้ (มี Quality of Service)

ลักษณะการทำงานของ ATM
ATM เป็นมาตรฐานรูปแบบการส่งข้อมูลความเร็วสูงที่ถูกพัฒนามาสำหรับงานที่ต้องการความเร็วในการส่ง ข้อมูลสูงมาก ๆ ข้อมูลที่ส่งในเครือข่าย ATM จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเล็ก ๆ เรียกว่า "เซลล์(cell)" มีขนาด 53 ไบต์ ประกอบด้วยส่วนข้อมูล (payload) ขนาด 48 byte และส่วนหัว (Header) ขนาด 5 ไบต์ ส่วนหัวจะเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมการส่งเช่น จุดหมายปลายทางระดับความสำคัญของเซลล์นั้น โดยจะประกอบด้วย
VPI (Virtual Path Identifier) และ VCI (Virtual Circuit Identifier)ทำหน้าที่กำหนดวงจรเสมือน (virtual circuit)ในการเดินทางให้กับเซลนั้น
HEC (Header Error Check) ทำหน้าที่ตรวจสอบเซลล์ ที่ไม่สอดคล้องตามที่ระบุในส่วนหัว สวิตซ์ ATM จะทำหน้าที่ ในการมัลติเพล็กซ์และจัดการส่งข้อมูลนั้นตามที่กำหนดไว้ในส่วนหัวไปสู่ปลายทาง เมื่อข้อมูลของผู้ใช้เข้ามา จะถูกตัวแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 48 byte และ เติมส่วนหัวเข้าไปอีก 5 byte แล้วจึงส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่าย ATM ซึ่งระบุไว้โดยส่วนหัว เมื่อถึงปลายทางแล้วก็จะเอาส่วนหัวออก แล้วประกอบกันเป็นข้อมูลชิ้นใหญ่ เหมือนเดิม ลักษณะของ ATM นี้ จะคล้ายกับเครือข่าย packet-switching อื่น ๆ ที่มีอยู่ เช่น x.25 หรือ frame relay แต่ต่างกันที่ ATM จะมีขนาด pack เล็กและคงที่

โครงสร้างโพโตคอลของ ATM จะแบ่งการทำงานที่สลับซับซ้อนออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่
1. Physical Layer (PHY) เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวนำสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณดิจิตอล ในการนำ ATM มาใช้ในเครือข่ายโทรคมนาคมนั้นจะนำมาใช้ร่วมกับ SONET ZSynchronous Optical Network) /SDH (Synchronous Digital Hierarchy) โดยมีเส้นใยแก้วนำแสดงเป็นตัวนำสัญญาณ
2. Asynchronous Transfer Mode Layer (ATM) หน้าที่สร้างส่วน header ของเซลล์ และประมวลผลส่วน header ของเซลล์ที่รับเข้ามา โดยอ่านค่า VCI/VPI ของเซลล์และหาเส้นทางที่จะส่งเซลล์ ออกไปแล้วจึงกำหนด VCI/VPI ใหม่ให้กับส่วน header ของเซลล์นั้น
3. ATM Adaptation Layer (AAL) ทำหน้าที่ปรับบริการที่ได้รับจากชั้น ATM ให้สอดคล้อง กับความต้องการของโพโตคอลและแปพลิเคชั่น ในชั้น higher layer โดยแบ่งเป็น 5 ชนิดด้วยกันเพื่อใช้กับ แอปพลิเคชันที่ต่างกันดังต่อไปนี้
- AAL1 เป็นวิธีการกำหนดให้มีการส่งและรับข้อมูลด้วยอัตราคงที่ (constant bit rate) โดยการจำลองวงจรการเชื่อมโยงระหว่างตัวรับตัวส่งข้อมูลที่ส่งมีลักษณะเป็น stream เพื่อใช้กับแอปพลิเคชันที่มีการส่งสัญญาณแบบจุดไปจุดอย่างต่อเนื่อง
- AAL2 เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตามทที่ต้องการ (variable bit rate) โดยเน้นการใช้อัตราความเร็วตามที่ต้องการ จึงนำมาใช้กับการรับส่งสัญญาณเสียงและภาพได้
- AAL3/4 เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตามที่ต้องการ (variable bit rate) เช่นเดียวกับ AAL2 แต่ต่างกันที่สามารถรับส่งข้อมูลแบบ asynchronous ได้ กล่าวคือ เวลาในการส่งและรับข้อมูลไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน
- AAL5 มีวิธีการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับ AAL3/4 ข้อแตกต่างกันคือสามารถใช้กับการสื่อสาร ข้อมูลซึ่งมีการเชื่อมต่อแบบ connectionless ได้ และมีส่วน header ของ payload สั้นกว่า AAL3/4 โพรโตคอลในชั้น AAL นี้จะควบคุมการติดต่อสื่อสารจากต้นทางถึงปลายทาง และจะถูกประมวลผลโดยผู้ส่งและ ผู้รับข้อความ (Message) เท่านั้น ชั้น AAL แบ่งออกเป็นชั้นย่อย 2 ชั้น คือชั้น Convergence Sublayer (CS) ช่วยในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Interface) ที่ไม่ใช่ ATM เข้ากับ ATM และชั้น Segmentation and Reassembly Sublayer (SAR) ทำหน้าที่ตัดข้อความที่โพรโตคอลหรือแอปพลิเคชันต้องการส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อนำไปสร้างเซลล์หรือนำส่วนข้อมูล (information) จาก payload ของเซลล์มาต่อกันเป็นข้อความ

ข้อดีของ ATM
1. ATM ถูกพัฒนาให้เป็นมาตรฐานกลางของการสื่อสารทั่วโลก อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ถึงแม้จะต่างชนิดกัน โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อใด กล่าวคือ เป็นมาตรฐานกลางที่ร่วมกัน กำหนดขึ้นเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน
2. ATM ถูกพัฒนาเพื่อการส่งข้อมูลสำหรับทั้งเครือข่ายภายในระยะใกล้ (LAN:Local Area Network)และระยะไกล (Wide Area Network:WAN) แต่เดิมนั้มรูปแบบของการส่งข้อมูลในLANและ WAN จะแตกต่างกัน ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการเชื่อมต่อและบริหารเครือข่าย แต่ ATM จะผนวกทั้ง LAN และ WAN เข้าเป็นเครือข่ายใหญ่ที่มีมาตรฐานเดียว
3. ATM ถูกพัฒนาให้ใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบ แต่เดิมนั้นข้อมูลแต่ละรูปแบบได้แก่ สัญญาณเสียง (voice) ข้อมูล (data) และภาพเคลื่อนไหว (video) ต่างก็มีเครือข่ายของตนเอง โดยสัญญาณเสียงที่ใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์จะมีลักษณะ ที่มีอัตราการส่งข้อมูลคงที่เท่า ๆ กันตลอดเวลา ข้อมูลเสียงอาจยอมให้มีการสูญเสีย (error) ได้บ้าง แต่จะต้องให้มีการหน่วงเวลาน้อยที่สุด ส่วนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีอัตราการส่งข้อมูลไม่คงที่มีลักษณะเป็น bursty คือ บางเวลาจะมีข้อมูลมากเป็นกลุ่มก้อน แต่บางเวลาก็ไม่มีข้อมูลเข้ามาเลย ลักษณะนี้เรายอมให้มีการหน่วงเวลาได้บ้าง แต่จะให้มีการสูญเสีย (error) ให้น้อยที่สุดจะเห็นว่าข้อมูลต่างลักษณะกันต้องการคุณภาพในการส่งที่ต่างประเด็นกัน สำหรับ ATM เราไม่จำเป็นต้องแยกเครือข่ายสำหรับข้อมูลเหล่านี้ เนื่องจากมันถูก ออกแบบมาเพื่อใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบทั้งเสียง (voice) ข้อมูล และวิดีโอ นั่นเอง
4. ATM สามารถใช้ได้ที่ความเร็วสูงมาก ตั้งแต่ 1 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที = 1 ล้านบิตต่อวินาที) ไปจนถึง Gbps (กิกะบิตต่อวินาที = 1 พันล้านบิตต่อวินาที)
5. ATM สามารถส่งข้อมูลโดยมีการรับประกันคุณภาพการส่ง (Quality of Service) ทำให้สามารถเลือกคุณภาพตามระดับที่เหมาะสมกับความสำคัญและรูปแบบของข้อมูล โดยเราสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัตินี้กับการส่งจดหมายที่เราสามารถเลือกว่า จะส่งแบบธรรมดา,ด่วนพิเศษ (EMS) หรือ ลงทะเบียนป้องกันการสูญหาย เป็นต้น

ข้อสอบปรนัย เครือข่าย ATM
1.เครือข่าย ATM เป็นเครือข่ายที่ประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบยกเว้นข้อใด
ก.เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
ข.LAN
ค.WAN
ง.เส้นใยแสง
2.การส่งข้อมูลแบบเครือข่าย ATM ที่เรียกว่า "เซลล์" มีขนาดเท่าใด
ก.48 ไบต์
ข.52 ไบต์
ค.53 ไบต์
ง.63 ไบต์
3.โครงสร้างโปโตคอลของ ATM แบ่งออกเป็นกี่ชั้น
ก.1 ชั้น
ข.2 ชั้น
ค.3 ชั้น
ง.4 ชั้น
4.ข้อดีของ ATM คืออะไร
ก.สะดวกและประหยัด
ข.สามารถใช้กับข้อมูลได้หลายรูปแบบ
ค.การเชื่อมต่อรวดเร็ว
ง.ทันสมัย
5.เครือข่าย ATM คืออะไร

ก.การสื่อสารแบบไร้สาย
ข.การสื่อสารแบบเเพ็กเก็จ
ค.การสื่อสารแบบบหลายสาย
ง.การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต

เฉลยข้อสอบ เครือข่าย ATM
1. ก.เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
2. ค.53 ไบต์
3. ง.4 ชั้น
4. ข.สามารถใช้กับข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5. ข.การสื่อสารแบบแพ็กเก็จ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เรียนMISวันที่ 15 มิ.ย.51

TPS คืออะไรระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction Processing Systems -TPS) เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
MIS คืออะไรระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
DSS คืออะไรระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนEIS คืออะไรระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารองค์กร ในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธขององค์กร ให้สามารถจัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายหรือแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ES คืออะไรระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา

ข้อสอบอัตนัย
1.ES คืออะไร
2.DSS คืออะไร
3.MIS คืออะไร

เฉลย
1.ES คืออะไรระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล
2.DSS คืออะไรระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน
3.MIS คืออะไรระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต

ข้อสอบถูกผิด
1. TPS คือ ระบบประมวลผลรายการ
2.ES คือ ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง
3.DSS คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 4.MIS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
5.EIS คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ

เฉลยข้อสอบถูกผิด
1. ถูก 2.ผิด 3. ถูก 4. ถูก 5. ผิด

URL สมาชิกในห้อง

ส่ง URL‏เรวัต สุขดี (55.raywat@windowslive.com)(http://55raywathotmail.blogspot.com/)
ขอส่ง URL ของ bloggel‏นางสาวอภิญญา อินทร์ทอง(ame_no@hotmail.com)http://dofo-dofo.blogspot.com/
ขอส่ง URL‏นางสาวนีนาวัจน์ บริษัท (neen@thaimail.com)Urarat@hotmail.comhttp://neenawat.blogspot.com/
ขอส่ง URL‏นางสาวจิตรา สุดคำภา (tear015@thaimail.com)http://jitrajitcom.blogspot.com/
ขอส่ง url จากนายเด่น ทองสง 5022252203‏นายเด่น ทองสง (thongsong01@thaimail.com)http://thongsong01.blogspot.com/
ขอส่ง URL จาก จำลอง คำภา ครับผม‏JUMLONG-KHAPA (jumlong.com@thaimail.com)http://jumlongcom.blogspot.com/
ขอส่งURLจากนางสาวสุติมา คำเคน‏นางสาวสุติมา คำเคน (oop-oop@thaimail.com)http://sutima-sutima.blogspot.com/
ส่ง url.BloG‏Kwanrudee pothibut (n_70lady@hotmail.com)นางสาวขวัญฤดี โพธิบุตร http://noyzaa.blogspot.com/นฤมล รักศิลป์ (naumol.dot.com@thaimail.com)You may not know this sender.Mark as safeMark as unsafehttp://naumolblogspot.com/ปุ๊ ระเบิดขวด (parinya_pu@thaimail.com)This message may be dangerous. Learn morehttp://pu12-pu123sa14com.blogspot.com/ นายปริญญา สา=ลีวัน 5022252204ขอส่ง url‏ นาย วีระพงษ์ โกสีสุข (prerunner@thaimail.com)

ส่งงานวิจัย

งานวิจัยเรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้าสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ความเป็นมา
ครูอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาก คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น สามารถอธิบายบทเรียนซ้ำ ๆ กันได้ หลายครั้ง และควรจัดให้มีหน่วยงานทางการศึกษา เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากการพิจารณาลักษณะของเนื้อหาเรื่อง เครื่องวัด และการวัดทางไฟฟ้า ที่สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
2. เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น โดยใช้ เกณฑ์มาตรฐาน 80/80
3. เพื่อหาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยที่สร้างขึ้น
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ที่เลือกเรียนวิชาเลือกเสรี กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ วิชาช่างอุตสาหกรรม และวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาไฟฟ้า ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 312 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียน สวรรค์อนันต์วิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ที่เลือกเรียนวิชาเลือกเสรี กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ วิชาช่างอุตสาหกรรม และวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาไฟฟ้า ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 20 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธี การสุ่มแบบเจาะจง
นิยามศัพท์
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ในการวิจัย เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เครื่องวัดและการวัดไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. นักเรียน หมายถึง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 20 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
3. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง คุณภาพของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้จากคะแนนแบบฝึกหัดในบทเรียนและคะแนนสอบหลังการเรียนของนักเรียน ที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
4. ความก้าวหน้าทางการเรียน หมายถึง ค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบคะแนนการสอบ ก่อนเรียนและการสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. ความคิดเห็น หมายถึง ความรู้สึก ความพอใจ ความต้องการต่าง ๆ ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ในการวิจัย เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน
3. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์
4. แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับผู้เชี่ยวชาญ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การวิเคราะห์การประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าตัวกลางเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. การวิเคราะห์การประเมินความเห็นสอดคล้องเกี่ยวกับบทเรียนแต่ละกรอบภาพ ของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ จากค่าระดับความเห็นสอดคล้อง
3. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ จากการหาประสิทธิภาพ ของกระบวนการจากคะแนนการทำแบบฝึกหัดในบทเรียน และการหาค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์จากคะแนนทดสอบหลังการเรียน
4. การวิเคราะห์หาค่าความก้าวหน้าทางการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ ได้จากการ เปรียบเทียบคะแนนการสอบก่อนเรียน และการสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยนำคะแนนผลการสอบของนักเรียนหลังใช้บทเรียน กับก่อนใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาหาความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ย ใช้การทดสอบค่า (t - test Dependent Sample)
สรุปผลวิจัย
1. ได้ผลงานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.00/80.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้เท่ากับ 80/80
3. ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์มีค่าสูงขึ้น และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความพอใจกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และต้องการให้มี การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาอื่น ๆ อีก

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ไวแม็กซ์ (WiMAX)

ไวแม็กซ์ (WiMAX)
คือการออกแบบโครงสร้างและอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่ได้ถูกพัฒนามาจาก Wireless LAN หรือ Wi-Fi
ผลดีคือ ระยะทำการที่ครอบคลุมมากกว่าเครือข่ายแบบ Wireless LAN หลายเท่า
แถมยังได้ความเร็วในการให้บริการสูงเทียบเท่ากัน จึงทำให้ สามารถเชื่อมต่อระหว่างตึกต่าง ๆ
ได้ง่ายไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของภูมิประเทศอีกต่อไป
ที่มาของไวแม็กซ์
WiMAX เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่าจะถูกนำมาใช้งานในอนาคตอันใกล้นี้
โดย WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16
ซึ่งมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้นโดยได้การอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004
โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)
มาตรฐานและความถี่ของระบบ WiMAX๐ IEEE 802.16เป็นมาตราฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6 - 4.8 กิโลเมตร
เป็นมาตราฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถึ่ที่สูงมากคือ 10-66 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
๐ IEEE 802.16a เป็นมาตราฐานที่แก้ไขปรุงปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่ความถี่ 2- 11 กิกะเฮิรตซ์
ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตราฐาน 802.16 เดิม คือคุณสมบัติการรองรับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา (NLoS - Non - Line -of -Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิ เช่น ต้นไม้ ,อาคาร ฯลฯ
นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวางด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง 31 ไมล์
หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สายประเภท ที1 (T1-type) กว่า 60 รายและการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อยครัวเรือนได้พร้อมกันโดยไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
๐ IEEE 802.16e......เป็นมาตราฐานที่ออกแบบมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น PDA , Notebook เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6 - 4.8 กิโลเมตร มีระบบที่ช่วยใฟ้ผู้ใช้งานยังสามรถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งานแม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม......จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าเมื่อมีการนำเทคโนโลยีไวแม็กซ์ (WiMAX) มาใช้กันอย่างกว้างขวาง
เครือข่ายบนเทคโนโลยีไวแม็กซ์ (WiMAX) จะสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงไปยังสถานที่ต่างๆในรัศมีประมาณ 50 กิโลเมตร ครอบคลุมปริมณฑลทั้งหมดทำให้บริเวณดังกล่าวกลายเป็น WMAN (Wireless MAN) ไปอย่างอัตโนมัติบนเครือข่ายไร้สายความเร็วของไวแม็กซ์ WiMAX นั้น ได้ให้อัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณที่ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ในระยะทางไกลมากถึง 30 ไมล์ หรือ 48 กิโลเมตร ภายใต้คลื่นความถี่ระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
ทั้งก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องของสัญญาณสะท้อนอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว สถานีฐาน(Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในระหว่างความเร็ว และระยะทางได้อีก ตัวอย่างเช่น ถ้าหากการใช้เทคนิคในแบบ 64 QAM (Quadarature Amplitude Modulation) ไ
ม่สามารถรองรับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้ การเปลี่ยนไปใช้ 16 QAM หรือ QPSK (Quadarature Phase Shift Key)
ซึ่งจะช่วยเพิ่มระยะทางการในการสื่อสารให้มากขึ้นได้

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ข้อสอบวิชา wireless lan

1.ข้อใดคือความหมายของ Wireless LAN
ก. การต่อแบบใช้สาย UTP
ข. การต่อแบบมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ
ค. การต่อแบบใช้สาย COAX
ง. การต่อแบบ RING
2. ข้อใดคือความหมายของ Access Point
ก. ตัวส่งสัญญาณ
ข. ตัวรวมส่งสัญญาณ
ค. ตัวตัดสัญญาณ
ง. ตัวแปลงสัญญาณ
3. การเชื่อมต่อสัญญาณระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN ภายในอาคารข้อใดถูกต้อง
ก. ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps

ข. ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 4.5 Mbps
ค. ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
ง. ระยะ 200 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
4. การเชื่อมต่อสัญญาณระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN ภายนอกอาคารข้อใดถูกต้อง
ก. ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 15 Mbps

ข. ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 4 Mbps
ค. ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5 Mbps
ง. ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
5. การเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย Wireless LAN มีกี่แบบ
ก. 2 แบบ
ข. 3 แบบ
ค. 4 แบบ
ง. 5 แบบ
6. การเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc (Peer to Peer) คือข้อใด
ก. การเชื่อมต่อแบบมีศูนย์กลางควบคุม
ข. การเชื่อมต่อแบบไม่มีศูนย์กลางควบคุม
ค. การเชื่อมต่อแบบแอ็กเซสพอยน์เป็นศูนย์กลาง
ง. การเชื่อมต่อแบบ HUB เป็นตัวควบคุม
7. ข้อใดคือการต่อระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์
ก. ASLD
ข. ASDL
ค. ADLS
ง. ADSL
8. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN
ก. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล

ข. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว
ค. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด
ง. ส่งสัญญาณได้ไกลเกิน 1 กิโลเมตร
9. ข้อใดไม่ใช่เสียของระบบ Wireless LAN คือข้อใด
ก. มีสัญญาณรบกวนสูง
ข. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง
ค. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
ง. มีความเร็วไม่สูงมากนัก
10. ข้อใดคือมาตรฐานระบบไร้สายที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน
ก. มาตรฐาน IEEE 801.11b
ข. มาตรฐาน IEEE 802.00b
ค. มาตรฐาน IEEE 802.11b
ง. มาตรฐาน IEEE 802.12b
11. มาตรฐาน IEEE 802.11b คือข้อใด
ก. ใช้ย่านความถี่เฉพาะระหว่าง 5.15GHz ถึง 5.35GHz
ข. รัศมีทำการอยู่ 75 ฟุต
ค. ส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11Mbps
ง. ใช้เทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลได้ทั้งแบบ CKK
12. ระบบ Wireless LAN เป็นการต่อเครือข่ายแบบใด
ก. RING
ข. BUS
ค. ADLS
ง. STAR
13. Access Point เปรียบเทียบการทำงานเหมือนอุปกรณ์ใด
ก. HUB
ข. GATWAY
ค. ROUTER
ง. SWITCH
14. การเชื่อมต่อแบบ Multiple access points and roaming สามารถกระจายได้ไกลกี่เมตร
ก. 200 เมตร
ข. 300 เมตร
ค. 400 เมตร
ง. 500 เมตร
15. ข้อใดเป็นการรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย
ก. มีรหัสผ่าน
ข. มีบัญชีผู้ใช้
ค. ไม่ให้นักเรียนใช้เครื่องในวงครู
ง. ถูกทุกข้อ

เฉลย

1.ข 6.ข 11.ค
2.ก 7.ง 12.ง
3.ค 8.ง 13.ก
4.ง 9.ข 14. ง
5.ก 10.ค 15.ง